หลังจากหลวงวิจิตรวาทการลาออกจากราชการ ท่านก็ได้ใช้ชีวิตการเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักประพันธ์อย่างเต็มตัวและเต็มที่
แต่ต่อมาไม่นาน ด้วยความรู้ความสามารถและสำนึกในการทำงานเพื่อส่วนรวม ท่านจึงได้รับการชักนำให้กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยหักเหไปทำงานด้านการศึกษา เริ่มจากการเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาใน พ.ศ.2477 ท่านก็ได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร
การได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากรนี้ เจ้าของประวัติเคยเล่าว่า ด้วยความที่ตัวท่านเองรักการอ่านการเขียนและงานหนังสือแต่ดั้งเดิมมาแล้ว ในช่วงที่ทำงานการทูตอยู่ที่ปารีส ท่านตั้งเจตจำนงแน่วแน่ว่าอยากจะหักเหมาทำงานเกี่ยวกับหอสมุดหรือหนังสือ ซึ่งฝันของท่านก็ได้เป็นจริงเมื่อได้มาเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งควบคุมดูแลหอสมุดแห่งชาติอยู่ด้วย
แต่งานในกรมศิลปากรไม่ได้มีเฉพาะงานในหอสมุด ทว่าภารกิจยังครอบคลุมถึงงานศิลปะทุกแขนง หลวงวิจิตรวาทการซึ่งออกตัวว่า “…ข้าพเจ้าไม่ได้เกิดมาเป็นนักศิลปะ…” จึงจำต้องเรียนรู้งานเพิ่มเติมมากพอสมควร แต่ท่านก็ได้เรียนรู้และดำเนินงานตามแนวทางที่คนรุ่นเก่าวางไว้ได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม งานช่าง งานพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการสร้างสรรค์และพัฒนางานใหม่ คือ งานละครและการดนตรี ซึ่งถึงแม้จะมีบทบัญญัติในกฎหมายแล้วว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรมศิลปากร ทว่ากลับไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควรในขณะนั้น ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจำนวนไม่น้อยยังมองว่างาน “เต้นกินรำกิน ” เป็นงานชั้นต่ำ แต่ท่านอธิบดีก็ยังยืนหยัดเดินหน้าพัฒนางานด้านนี้ แม้ต้องพบเจออุปสรรคไม่น้อย เช่น การจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางค์ขึ้นท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทางลบ การสร้างโรงละครด้วยงบที่ถูกโยนมาให้อย่างจำกัดจำเขี่ย แต่ด้วยความตั้งใจจริงของท่าน และผลงานที่ท่านสร้าง โดยเฉพาะบทละครคุณภาพอย่าง “เลือดสุพรรณ” ที่ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้งานละครและดนตรีที่ท่านบุกเบิกได้รับการสนับสนุนมากขึ้น จนเติบโตมาได้ถึงปัจจุบัน
ภารกิจพิเศษอีกอย่างหนึ่งในระหว่างที่หลวงวิจิตรวาทการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร คือ “การปลูกต้นรักชาติ” ขึ้นในใจสำนึกของคนไทย ตามนโยบายของ “ท่านผู้นำ” จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยใช้สื่อในรูปแบบละครประวัติศาสตร์และเพลงปลุกใจ ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการได้ปฏิบัติภารกิจนี้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา แม้สงครามสงบลงแล้ว ท่านก็ยังคงสร้างผลงานต่อเนื่องมาจนเกือบถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ผลงานที่ท่านสร้างไว้มีอยู่มากมายที่ยังคงเป็นอมตะมาถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะบทเพลงปลุกใจ เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงเลือดสุพรรณ เพลงรักเมืองไทย เพลงต้นตระกูลไทย เป็นต้น
หลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งงานกับนางสาวประภา ( ภายหลังเปลี่ยนเป็นประภาพรรณ ) รพิพันธุ์ อาจารย์โรงเรียนเบญจมราชาลัย บุตรีของขุนวรสาสน์ดรุณกิจ ( พุก รพิพันธุ์ ) หลังจากที่ทั้งคู่คบหาดูใจเป็นคู่รักกันมา 9 ปี โดยทำพิธีแต่งงาน ณ บ้านพักถนนศิริอำมาตย์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2479 และมีบุตรด้วยกัน 7 คน เป็นชาย 6 หญิง 1
ในปีเดียวกับที่ท่านแต่งงาน หลวงวิจิตรวาทการได้เริ่มบทบาทหน้าที่ทางการเมือง ด้วยการเป็นรัฐมนตรีลอยควบคู่กับการเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ต่อมาใน พ.ศ.2483 เป็นรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงศึกษาธิการ ,พ.ศ.2484 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการฯในปีถัดมา
ในช่วงดังกล่าว ประเทศไทยต้องเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลสงครามให้ความร่วมมือกับทหารญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ( ฝ่ายสหรัฐอเมริกา) หลววงวิจิตรวาทการซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีส่วนรับผิดชอบในการประกาศสงครามนั้นด้วย
ในระหว่างสงครามดำเนินอยู่ ใน พ.ศ.2486 หลวงวิจิตรวาทการได้ไปปฏิบัติหน้าที่เอกอัครราชทูตที่กรุงโตเกียว จนกระทั่งสงครามสงบด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพอมเริกันเข้ายึดครองโตเกียว นายพลแมคอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการกองทัพได้ออกหมายจับผู้ต้องหาเป็นอาชญากรสงครามในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 35 คน บุคคลลำดับที่ 35 คือ หลวงวิจิตรวาทการ
สองสัปดาห์หลังถูกประกาศจับ หลวงวิจิตรวาทการถูกควบคุมตัวไปกักบริเวณที่มิยาโนชิตาหนึ่งเดือน จากนั้นถูกย้ายไปขังบนยอดเขาโกร่า ก่อนจะถูกส่งตัวเข้ามาขังในคุกของสันติบาลไทยที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2489
ติดคุกไทยอยู่สิบกว่าวัน หลวงวิจิตรก็ถูกนำตัวขึ้นสอบสวนในชั้นศาล ก่อนจะได้รับการพิพากษาให้ปล่อยตัว เนื่องจากพระราชบัญญัติอาชญากรสงครามของไทยเพิ่งออกมาภายหลังท่านถูกจับ ซึ่งตามหลักกฏหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง จึงถือเป็นโมฆะ
หลังจากได้รับการปล่อยตัว หลวงวิจิตรวาทการกลายเป็นคนตกงานอยู่ระยะหนึ่ง ท่านจึงได้กลับมาจับปากกาสร้างงานประพันธ์อีกครั้ง ได้สร้างผลงานออกมาอีกหลายสิบเล่ม
ใน พ.ศ.2491 จอมพล ป.พิบูลสงคราม และจอมพล ผิณ ชุณหะวัณ ได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ หลวงวิจิตรวาทการจึงได้กลับเข้ารับราชการ และท่านก็ได้รับงานการทูตอีกครั้ง โดยออกไปเป็นอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย ใน พ.ศ.2495 ย้ายไปประจำประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และยูดกสลาเวียตามลำดับใน พ.ศ. 2496
ปลายปี 2500 จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ทำการรัฐประการรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ หลวงวิจิตรวาทการได้กลับเข้ามารับตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ( เทียบเท่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ) เป็นที่ปรึกษานายกฯ และช่วยงานต่างๆของรัฐบาลจอมพลสฤษฎิ์มากกว่า 20 หน้าที่ เป็นที่มาของกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากอีกครั้ง เนื่องจากท่านเคยมีภาพของการเป็นคนสนิทใกล้ชิดจอมพล ป.พิบูลสงครามที่ถูกปฏิวัติไป
หลวงวิจิตรวาทการ ได้รับพระราชทานยศ “พลตรี” ใน พ.ศ.2504 และปีนั้นเอง ที่สุขภาพของท่านก็เริ่มเสื่อมโทรมลง คุณหญิงประภาพรรณ ภริยา เคยขอร้องให้ท่านหยุดพักผ่อน แต่ท่านผัดผ่อนว่าขอทำงานต่ออีก 2 ปี ทว่าสังขารร่างกายไม่ตอบรับ ท่านล้มป่วยด้วยโรคหัวใจในปลายปีนั้น ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่ออาการเริ่มดีขึ้น จึงย้ายออกมาพักรักษาตัวที่บ้านพัก ซอยเกษม ถนนสุขุมวิท ก่อนจะเสียชีวิตในวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2505
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2505
30 เมษายน 2556
จากเด็กชายกิมเหลียง กว่าจะเป็นหลวงวิจิตรวาทการที่โลกรู้จัก ตอนที่ 2
29 เมษายน 2556
จากเด็กชายกิมเหลียง กว่าจะเป็นหลวงวิจิตรวาทการที่โลกรู้จัก
จากบทความ “ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ นักปราชญ์ผู้อาภัพของเมืองไทย ” ผมได้นำเสนอเฉพาะบางแง่มุมในชีวิตที่แสดงถึงความเป็น “ปราชญ์” ของท่าน รวมถึงมุมอับในชีวิตที่น่าเห็นใจ มาถึงบทความนี้จะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของท่านตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงกาลอวสานแห่งชีวิต
เนื้อหาที่ผมค้นคว้ามาเรียบเรียง ข้อมูลส่วนใหญ่ผมนำมาจากหนังสือ “รำลึก 100 ปี พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ บทคัดสรรว่าด้วยชีวประวัติและผลงาน ” ซึ่งมีเนื้อหาประวัติของท่านค่อนข้างละเอียด จากการเรียบเรียงของคุณเสฐียร พันธรังสี นักหนังสือพิมพ์อาวุโสผู้เคยใกล้ชิดกับหลวงวิจิตรวาทการ และบางส่วนก็เป็นบทบันทึกของเจ้าของประวัติเอง ผมจึงมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลมากพอสมควร
หลวงวิจิตรวาทการ มีชื่อเดิมว่า กิมเหลียง วัฒนปฤดา ซึ่งฟังจากชื่อแล้วอาจจะคิดว่าท่านมีเชื้อสายจีน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ การที่ท่านได้ชื่อจีน เป็นเพราะในจังหวัดอุทัยธานี บ้านเกิดของท่านในขณะนั้นมีประเพณีพิเศษอย่างหนึ่ง คือการตั้งชื่อลูกหลานเป็นชื่อจีน ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยการรับอิทธิพลของจีนมามากในเวลานั้น
เด็กชายกิมเหลียง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2441 เวลา 04.00 น. ( โดยประมาณ ) ณ แพไม้ไผ่ฝาขัดแตะ ริมคลองสะแกกรัง จ.อุทัยธานี บิดาชื่อนายอิน มารดาชื่อนางคล้าย ทั้งคู่มีอาชีพค้าขาย ฐานะปานกลาง
การศึกษาของเด็กชายกิมเหลียง เริ่มต้นตั้งแต่การหัดเขียนหนังสือตามตัวอย่างที่บิดาเขียนใส่กระดานชนวนให้ไว้ก่อนออกไปค้าขาย ตั้งแต่กิมเหลียงอายุได้ 5 ขวบ ก่อนจะได้เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนวัดขวิด ต.สะแกกรัง เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ในระหว่างนั้น หลวงสกลรักษา นายอำเภอ ผู้เป็นตา ได้ชักชวนไปหัดเขียนร่างสำนวนฟ้อง ( งานเสมียน)อยู่เสมอ ซึ่งกิมเหลียงก็เรียนรู้ได้ดี น่าเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ให้เรียนต่อ เมื่อจบชั้นประถมศึกษา พ่อแม่จึงพามาฝากให้อยู่กับพระมหาซุ้ย ผู้เป็นอา ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี 2453
เมื่อมาอยู่ที่วัดมหาธาตุ กิมเหลียงได้เข้าเป็นนักเรียนบาลีวิทยาลัย ซึ่งเพิ่งก่อตั้งที่วัดเป็นรุ่นแรก เรียนอยู่ประมาณ 3 –4 ปี มีความรู้พอจะสอบเปรียญได้ จึงบรรพชา และสอบได้เปรียญธรรม 3 – 4- 5 ประโยคตามลำดับ โดยสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยในปี พ.ศ.2459 ขณะอายุได้ 19 ปี ได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข ๑ จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลังจากนั้นก็ได้รับความไว้วางใจจาก พระศรีวิสุทธิวงศ์ ( เฮง เขมจารี ) ผู้อำนวยการสอนบาลีวิทยาลัยให้เป็นครูสอนของวิทยาลัยด้วย
ในราวหนึ่งปีถัดมา สามเณรกิมเหลียงซึ่งอายุครบ 20 ปีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แต่อยู่ได้แค่เดือนเดียวก็ออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ในตำแหน่งเสมียน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โดยในระหว่างรับราชการ กิมเหลียงได้เรียนกฏหมายไปด้วย จนสอบได้ภาค 1 แต่ยังไม่ทันสอบภาค 2 ก็ต้องย้ายไปเป็นผู้ช่วยเลขานุการสถานฑูตไทยในกรุงปารีส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งการรับราชการที่ปารีสนี่เอง ทำให้กิมเหลียง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงวิจิตรวาทการ ” ใน พ.ศ. 2467
และในระหว่างรับราชการที่ปารีส หลวงวิจิตรวาทการก็ไม่ทอดทิ้งการใฝ่หาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินเดือนเพื่อซื้อหนังสือมากกว่าอย่างอื่น การเข้าเรียนในโรงเรียนฝึกฝนมันสมอง ที่เรียกว่า Pelman Institute การเข้าศึกษากฏหมายที่มหาวิทยาลัยปารีส ควบคู่กับการศึกษารัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์ โดยแต่ก็ไม่ทันได้รับปริญญาทั้งสองที่ เพราะต้องย้ายไปเป็นเลขานุการสถานฑูตไทยกรุงลอนดอน ใน พ.ศ.2469
การย้ายไปอยู่ลอนดอน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีของกิมเหลียง เพราะตอนที่อยู่ปารีส หลวงวิจิตรวาทการเคยบ่นว่า “….ข้าพเจ้าไม่รักงานการทูตเท่าไหร่นัก เห็นจะเป็นที่ต้องอยู่ภายใต้งานหนักและความยากลำบาก ประกอบกับความเข้มงวดกวดขัยของท่านอัครราชทูต….” ครั้นเมื่อมาอยู่ลอนดอน ท่านบอกว่า “….ดูเหมือนข้าพเจ้าจะชอบชีวิตในลอนดอนมากกว่าในปารีส…..”
แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขของคนเรามักจะสั้นเสมอ หลวงวิจิตรวาทการอยู่ในลอนดอนได้ไม่นาน ก็ถูกเรียกตัวกลับมารับราชการในเมืองไทย กลับมาคราวนี้ท่านได้หมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่หลายตำแหน่งในกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่เป็นผู้ช่วยชั้นหนึ่ง กองที่ปรึกษา เป็นปลัดกองสันนิบาตชาติ เป็นหัวหน้ากองการกงสุล หัวหน้ากองการทูต หัวหน้ากองการเมือง จนกระทั่งได้เป็นอธิบดีกรมการเมือง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2475
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หลวงวิจิตรวาทการก็ยังคงปฏิบัติราชการในกระทรวงการต่างประเทศอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ภารกิจที่เพิ่มมาคือการปาฐกกถาให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณรในวัดมหาธาตุอย่างน้อยเดือนละครั้ง นอกจากนี้ ท่านยังใช้เวลาส่วนหนึ่งเขียนหนังสือ และตั้งโรงพิมพ์ “วิริยานุภาพ” ออกหนังสือพิมพ์วิชาการชื่อ “ดวงประทีป” ซึ่งดำเนินกิจการมาได้ระยะหนึ่งก็โอนกิจการให้กับบริษัท “ไทยใหม่” ส่วนตัวหลวงวิจิตรวาทการเองก็ได้ลาออกจากราชการมาเป็นนักเขียนของหนังสือพิมพ์ “ไทยใหม่” อย่างเต็มตัว
เนื้อหาที่ผมค้นคว้ามาเรียบเรียง ข้อมูลส่วนใหญ่ผมนำมาจากหนังสือ “รำลึก 100 ปี พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ บทคัดสรรว่าด้วยชีวประวัติและผลงาน ” ซึ่งมีเนื้อหาประวัติของท่านค่อนข้างละเอียด จากการเรียบเรียงของคุณเสฐียร พันธรังสี นักหนังสือพิมพ์อาวุโสผู้เคยใกล้ชิดกับหลวงวิจิตรวาทการ และบางส่วนก็เป็นบทบันทึกของเจ้าของประวัติเอง ผมจึงมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลมากพอสมควร
หลวงวิจิตรวาทการ มีชื่อเดิมว่า กิมเหลียง วัฒนปฤดา ซึ่งฟังจากชื่อแล้วอาจจะคิดว่าท่านมีเชื้อสายจีน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ การที่ท่านได้ชื่อจีน เป็นเพราะในจังหวัดอุทัยธานี บ้านเกิดของท่านในขณะนั้นมีประเพณีพิเศษอย่างหนึ่ง คือการตั้งชื่อลูกหลานเป็นชื่อจีน ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยการรับอิทธิพลของจีนมามากในเวลานั้น
เด็กชายกิมเหลียง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2441 เวลา 04.00 น. ( โดยประมาณ ) ณ แพไม้ไผ่ฝาขัดแตะ ริมคลองสะแกกรัง จ.อุทัยธานี บิดาชื่อนายอิน มารดาชื่อนางคล้าย ทั้งคู่มีอาชีพค้าขาย ฐานะปานกลาง
การศึกษาของเด็กชายกิมเหลียง เริ่มต้นตั้งแต่การหัดเขียนหนังสือตามตัวอย่างที่บิดาเขียนใส่กระดานชนวนให้ไว้ก่อนออกไปค้าขาย ตั้งแต่กิมเหลียงอายุได้ 5 ขวบ ก่อนจะได้เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนวัดขวิด ต.สะแกกรัง เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ในระหว่างนั้น หลวงสกลรักษา นายอำเภอ ผู้เป็นตา ได้ชักชวนไปหัดเขียนร่างสำนวนฟ้อง ( งานเสมียน)อยู่เสมอ ซึ่งกิมเหลียงก็เรียนรู้ได้ดี น่าเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ให้เรียนต่อ เมื่อจบชั้นประถมศึกษา พ่อแม่จึงพามาฝากให้อยู่กับพระมหาซุ้ย ผู้เป็นอา ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี 2453
เมื่อมาอยู่ที่วัดมหาธาตุ กิมเหลียงได้เข้าเป็นนักเรียนบาลีวิทยาลัย ซึ่งเพิ่งก่อตั้งที่วัดเป็นรุ่นแรก เรียนอยู่ประมาณ 3 –4 ปี มีความรู้พอจะสอบเปรียญได้ จึงบรรพชา และสอบได้เปรียญธรรม 3 – 4- 5 ประโยคตามลำดับ โดยสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยในปี พ.ศ.2459 ขณะอายุได้ 19 ปี ได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข ๑ จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลังจากนั้นก็ได้รับความไว้วางใจจาก พระศรีวิสุทธิวงศ์ ( เฮง เขมจารี ) ผู้อำนวยการสอนบาลีวิทยาลัยให้เป็นครูสอนของวิทยาลัยด้วย
ในราวหนึ่งปีถัดมา สามเณรกิมเหลียงซึ่งอายุครบ 20 ปีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แต่อยู่ได้แค่เดือนเดียวก็ออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ในตำแหน่งเสมียน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โดยในระหว่างรับราชการ กิมเหลียงได้เรียนกฏหมายไปด้วย จนสอบได้ภาค 1 แต่ยังไม่ทันสอบภาค 2 ก็ต้องย้ายไปเป็นผู้ช่วยเลขานุการสถานฑูตไทยในกรุงปารีส ในปี พ.ศ.2463 ซึ่งการรับราชการที่ปารีสนี่เอง ทำให้กิมเหลียง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงวิจิตรวาทการ ” ใน พ.ศ. 2467
และในระหว่างรับราชการที่ปารีส หลวงวิจิตรวาทการก็ไม่ทอดทิ้งการใฝ่หาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินเดือนเพื่อซื้อหนังสือมากกว่าอย่างอื่น การเข้าเรียนในโรงเรียนฝึกฝนมันสมอง ที่เรียกว่า Pelman Institute การเข้าศึกษากฏหมายที่มหาวิทยาลัยปารีส ควบคู่กับการศึกษารัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์ โดยแต่ก็ไม่ทันได้รับปริญญาทั้งสองที่ เพราะต้องย้ายไปเป็นเลขานุการสถานฑูตไทยกรุงลอนดอน ใน พ.ศ.2469
การย้ายไปอยู่ลอนดอน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีของกิมเหลียง เพราะตอนที่อยู่ปารีส หลวงวิจิตรวาทการเคยบ่นว่า “….ข้าพเจ้าไม่รักงานการทูตเท่าไหร่นัก เห็นจะเป็นที่ต้องอยู่ภายใต้งานหนักและความยากลำบาก ประกอบกับความเข้มงวดกวดขัยของท่านอัครราชทูต….” ครั้นเมื่อมาอยู่ลอนดอน ท่านบอกว่า “….ดูเหมือนข้าพเจ้าจะชอบชีวิตในลอนดอนมากกว่าในปารีส…..”
แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขของคนเรามักจะสั้นเสมอ หลวงวิจิตรวาทการอยู่ในลอนดอนได้ไม่นาน ก็ถูกเรียกตัวกลับมารับราชการในเมืองไทย กลับมาคราวนี้ท่านได้หมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่หลายตำแหน่งในกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่เป็นผู้ช่วยชั้นหนึ่ง กองที่ปรึกษา เป็นปลัดกองสันนิบาตชาติ เป็นหัวหน้ากองการกงสุล หัวหน้ากองการทูต หัวหน้ากองการเมือง จนกระทั่งได้เป็นอธิบดีกรมการเมือง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2475
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หลวงวิจิตรวาทการก็ยังคงปฏิบัติราชการในกระทรวงการต่างประเทศอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ภารกิจที่เพิ่มมาคือการปาฐกกถาให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณรในวัดมหาธาตุอย่างน้อยเดือนละครั้ง นอกจากนี้ ท่านยังใช้เวลาส่วนหนึ่งเขียนหนังสือ และตั้งโรงพิมพ์ “วิริยานุภาพ” ออกหนังสือพิมพ์วิชาการชื่อ “ดวงประทีป” ซึ่งดำเนินกิจการมาได้ระยะหนึ่งก็โอนกิจการให้กับบริษัท “ไทยใหม่” ส่วนตัวหลวงวิจิตรวาทการเองก็ได้ลาออกจากราชการมาเป็นนักเขียนของหนังสือพิมพ์ “ไทยใหม่” อย่างเต็มตัว
28 เมษายน 2556
พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ นักปราชญ์ผู้อาภัพของเมืองไทย
บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ผมชื่นชมความรู้ความสามารถและผลงานของท่านมาตั้งแต่เรียน ม.ต้น จนถึงปัจจุบัน จนไม่อาจละเลยการนำเอาเรื่องราวของท่านมาถ่ายทอดในบล็อก “ไอดอลแมน ” นี้ได้ คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ( พ.ศ.2446 – 2505 ) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์อัจฉริยะของเมืองไทย
ก่อนที่จะนำเสนอประวัติ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ โดยละเอียด เรามาดูกันก่อนว่า สิ่งใดที่บ่งบอกความเป็นนักปราชญ์ของท่านบ้าง และเพราะอะไร ผมจึงกล่าวว่า พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นนักปราชญ์ผู้อาภัพ
ความเป็นปราชญ์ของท่านเริ่มฉายแววตั้งแต่วัย 5 ขวบก่อนที่จะได้เข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ ด้วยการเรียนเขียนตัวหนังสือไทยที่พ่อของท่านเขียนตัวอย่างใส่กระดานชนวนไว้ให้ก่อนจะออกไปค้าขายกับแม่ท่านทุกๆวัน ทางบ้านก็จะมียายคอยกำกับดูแลการเขียนหนังสือ และมีย่าคอยเล่านิยาย( วรรณคดี ) จำพวกรามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา ให้ท่านฟังก่อนนอน จนเรื่องเหล่านั้นอยู่ในสมองท่านก่อนจะเริ่มหัดอ่านหนังสือได้เองด้วยซ้ำ
พออายุได้ 8 ขวบ ท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง อุทัยธานี บ้านเกิดของท่าน ในระหว่างนั้น คุณตาของท่าน คือ หลวงสกลรักษา นายอำเภอสะแกกรัง ก็ได้เรียกท่านไปหัดเขียนสำนวนฟ้อง ซึ่งท่านก็เรียนรู้ได้ดี แต่น่าเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ให้เรียนต่อ ท่านจึงต้องหักเหมาเรียนทางธรรม โดยบรพพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์วรมหาวิหารเมื่อท่านอายุได้ 13 ปี
ท่านศึกษานักธรรมบาลี จนสำเร็จหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี โดยสอบได้ลำดับที่ 1 และได้รับประกาศนียบัตรจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6)
ว่ากันว่า ในระหว่างที่ศึกษานักธรรมบาลีนั้น ท่านยังแอบศึกษาวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้แตกฉาน สามารถแปลพงศาวดารเยอรมันจากอังกฤษเป็นไทย โดยใช้นามปากกา “แสงธรรม”
หลังจากสำเร็จเรียนจบเปรียญธรรม 5 ประโยคเมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทอยู่หนึ่งเดือน ก่อนจะลาสิกขาบทออกมารับราชการ โดยเริ่มต้นที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และหลังจากนั้นท่านก็ได้รับราชการในตำแหน่งสำคัญๆของประเทศอีกหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเลขานุการสถานฑูตไทยในกรุงปารีสและกรุงลอนดอน หัวหน้ากองการกงสุล กองการฑูต และกองการเมือง ในกระทรวงการต่างประเทศตามลำดับ เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง เป็นเจ้ากรมปกาสิต ( ชื่อกรมในขณะนั้น) เป็นอธิบดีกรมศิลปรการคนแรก เป็นรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง เป็นเอกอัครราชฑูต และตำแหน่งสูงสุดของท่านก็เห็นจะเป็น ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ( เทียบเท่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน )
ตลอดระยะเวลาที่ท่านรับราชการในตำแหน่งต่างๆดังกล่าว ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้สร้างคุณูประโยชน์ให้ประเทศชาติสืบต่อมาถึงรุ่นหลังไม่น้อย ที่เห็นเด่นชัดคือ ท่านเป็นผู้ปฏิวัติภาพลักษณ์ของอาชีพ “เต้นกินรำกิน” โดยการจุดประกายความสำคัญของการดนตรี ละคร และนาฏศิลป์ ในสมัยที่ท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งแม้ในยุคแรกๆ ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจหรือการให้ความสำคัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเท่าใดนัก แต่ท่านก็ยืนหยัดต่อสู้ จนกระทั่งวิชาชีพดังกล่าวได้รับการยอมรับในสังคมมาถึงทุกวันนี้
และในระหว่างการรับราชการ นอกจากการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่แล้ว หลวงวิจิตรวาทการยังสรา้งสรรค์ผลงานด้านการประพันธ์ ปาฐกถา ออกมามากมาย โดยเฉพาะผลงานประพันธ์ที่ท่านชื่นชอบ และได้เริ่มงานประพันธ์เล็กๆน้อยๆมาตั้งแต่อายุ 16 –17 ก่อนจะมาจับงานนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ท่านอายุ 29 ปีในระหว่างรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ และได้ประพันธ์หนังสือต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตท่านนับได้มากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีทั้งบทประพันธ์ที่เป็นนวนิยาย บทละคร บทเพลง ผลงานวิชาการ ซึ่งมีการกล่าวขวัญกันว่า ท่านเป็นผู้ที่มีสมองโลดแล่น และสร้างงานประพันธ์ได้รวดเร็วอย่างประหลาด และเป็นที่น่าทึ่งว่า ทั้งๆที่ท่านทำงาน ( รับราชการ ) หนักมาตลอด ( จะมีช่วงลาออกจากราชการไปเป็นเป็นนักประพันธ์อย่างเดียวก็แค่ไม่กี่ปี ) แต่ทำไมถึงยังสร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่ามหาศาลออกมาได้ขนาดนั้น ท่านเอาเวลาที่ไหนไปเขียนไปแต่ง ซึ่งเจ้าตัวเคยให้คำตอบไว้อย่างน่าฟังว่า
“….อันที่จริงเวลาของคนเรานั้นย่อมจะมีอยู่เสมอ ถ้าหากมีความตั้งใจจริง ที่จะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เวลาจะล่วงช้าไปถ้าเราใช้ประโยชน์ และจะล่วงเร็วไปถ้าเราไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์อะไร….”
เรื่องน่าทึ่งอีกอย่างที่หลายคนคงไม่รู้ คือ หลวงวิจิตรวาทการที่ได้ชื่อว่าเป็นนักพูดชั้นแนวหน้าของไทย ( ดูได้จากชื่อ วิจิตรวาทการ) แต่ตัวท่านเองกลับมีอาการ “ติดอ่าง” ซึ่งเหมือนกับเป็นการกลั่นแกล้งจากธรรมชาติให้ถ่วงดุลอำนาจกับมันสมองที่ปราชญ์เปรื่องของท่าน ว่ากันว่า ตัวท่านเองก็เคยท้อใจอยู่บ้างเวลาต้องออกไปพูดหรือปาฐกถาที่ใด แม้จะเรียบเรียงบทพูดมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ยังดีที่ว่า อาการติดอ่างนั้นจะเกิดขึ้นแค่ใน 2-3 นาทีแรก และต่อมาท่านก็ได้รักษาอาการนี้จนหายได้ในที่สุด
ด้วยความรู้ความสามารถระดับอัจฉริยะที่ท่านมีอยู่ น่าจะทำให้ชีวิตของท่านผู้นี้เป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือ เป็นตำนานแห่งบุคคลต้นแบบระดับแนวหน้าของเมืองไทย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้นเสียทั้งหมด เพราะยังมีบางแง่มุมของชีวิตหลวงวิจิตรวาทการ ที่เป็นความอาภัพซึ่งควรได้รับความเห็นใจจากผู้ที่ได้ทราบ
จุดเริ่มต้นความอาภัพในชีวิตของท่าน อาจจะมาจากการเป็นนักประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างที่ท่านรับราชการไปด้วย หรือช่วงที่ท่านลาออกจากราชการมาจับงานประพันธ์เต็มตัวอยู่ช่วงหนึ่ง แม้จะไม่ปรากฏว่าท่านมีความเป็นอยู่ที่ความยากลำบากหรือเดือดร้อนจากการเป็นนักประพันธ์ ซ้ำในทางตรงข้าม ดูเหมือนว่า ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตการเป็นนักประพันธ์อย่างมากมายด้วยซ้ำ ถึงขนาดเคยเอ่ยปากเองว่า ผลจากการเป็นนักประพันธ์ในระหว่างที่ลาออกจากราชการ ทำให้มีรายได้ดีกว่าช่วงที่รับราชการอยู่ด้วยซ้ำ และผลงานประพันธ์หลายชิ้นของท่านก็ยังคงเป็นอมตะมาถึงปัจจุบัน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ปราชญ์นักประพันธ์ท่านนี้ก็ยอมรับเองว่า ชีวิตนักประพันธ์โดยมากย่อมจะอาภัพ และอาภัพมากกว่าสาขาอาชีพอื่น นักเขียนคนหนึ่งกว่าจะได้รับเกียรติยศให้เข้าขั้นนักประพันธ์นั้นต้องทำงานอย่างเอาชีวิตเข้าแลกทุกคน นักประพันธ์คนหนึ่งกว่าจะเป็นนักประพันธ์ที่ดีได้ ต้องได้เคยช้ำอกช้ำใจมาแล้วตั้งหลายครั้งหรือเกือบตลอดชีวิต และท่านก็เคยสั่งเสียไว้ว่า ถ้าจะเป็นนักประพันธ์ ก็ต้องตรึกตรองดูให้ดีก่อนว่าจะยอมตายหรือไม่ ถ้ายังไม่สมัครใจใจที่จะอดตายก็ควรเลิกความคิดที่จะเป็นนักประพันธ์
จากแนวคิดของท่าน สะท้อนให้เห็นถึงวิถึชีวิตของนักประพันธ์ในสมัยนั้นว่าอาภัพเพียงใด แม้จะไม่ได้บอกกล่าวถึงชีวิตของตัวเองโดยตรง แต่ก็น่าจะทำให้คิดได้ว่า ท่านคงต้องเคยผ่านวิถีชีวิตแบบนั้นมาแล้วไม่มากก็น้อย
มุมชีวิตที่น่าเห็นใจอีกอย่างหนึ่งของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการก็คือ หลายครั้งที่ความรู้ความสามารถที่ท่านมี กลับไม่ได้ช่วยให้ท่านโดดเด่นขึ้นมาเท่าที่ควร ซ้ำบางช่วงเวลา ยังเกือบจะทำให้ท่านเดือดร้อนเสียอีก โดยเฉพาะบนวิถีทางการเมือง!!!!!
ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร์ ซึ่งหลายคนที่เป็นผู้นำในกลุ่มดังกล่าว ( หนึ่งในนั้นคือ ท่านปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ) เป็นเพื่อนสนิทของหลวงวิจิตรวาทการ แต่ตัวท่านเองกลับไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมกลุ่ม และแม้เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านก็ไม่ได้มีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้นไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเพราะท่านกลัวราชภัยจึงไม่กล้าเข้าร่วมแต่แรก แต่จะคอยหาโอกาสชุบมือเปิบภายหลัง และเมื่อท่านก่อตั้งคณะการเมืองขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เสมือนว่าจะแข่งกับคณะราษฎร์ ก็ยิ่งเหมือนเพิ่มประแสวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น แต่ท่านก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงหรือให้ความกระจ่างในเรื่องนี้มากนัก นอกจากจะบอกปัดไปว่า “ไม่มีใครจะทราบดีไปกว่าผู้เริ่มก่อการ ( คณะราษฏร์) ซึ่งเป็นเพื่อนของข้าพเจ้ากับตัวข้าพเจ้าเอง ” และขู่จะฟ้องศาลฐานหมิ่นประมาทหากมีพยานหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นต้นตอการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว
ต่อมาเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงครามเรืองอำนาจ หลวงวิจิตรวาทการมีภาพลักษณ์ออกมาในฐานะขุนพลคู่ใจจอมพล ป. โดยมีบทบาทในการช่วยปลุกกระแสความรักชาติ ผ่านทางบทประพันธ์ ทั้งบทละคร เพลง หรือแม้แต่นวนิยายของท่าน ซึ่งถึงแม้ผลงานดังกล่าวของท่านหลายชิ้นยังคงเป็นอมตะมาถึงวันนี้ เช่น เพลงปลุกใจต่างๆ เป็นต้น แต่กลับส่งผลลบต่อตัวผู้ประพันธ์ในสายตาคนจำนวนไม่น้อยในสังคม ที่มองว่า ท่านเป็นผู้คลั่งไคล้ลัทธิชาตินิยมจนเกินเหตุ
ยิ่งเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้โค่นล้มอำนาจรัฐบาลหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) หลวงวิจิตรวาทการในฐานะผู้ใกล้ชิดจอมพล ป.ก็พลอยถูกมองเป็นพวกเผด็จการไปด้วย โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่นิยมและสนับสนุนหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ยิ่งไปกว่านั้น ต่อมาเมื่อจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ได้กระทำรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. แล้วขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการดำรงตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยิ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นอีก ด้วยความที่ท่านเคยเป็นคนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกยึดอำนาจ
และจากการที่ท่านถูกมองว่าเป็น “ผู้เลื่อมใสลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรง” ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อท่านภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง อันเนื่องมาในระหว่างสงคราม รัฐบาลไทยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร หลวงวิจิตรวาทการต้องทำหน้าที่ปลุกระดมกระแสความรักชาติ รวมไปถึงถูกส่งไปเป็นเอกอัครราชฑูตประจำกรุงโตเกียว จนกระทั่งสงครามจบ ด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ท่านเป็นหนึ่งใน 35 ผู้ต้องหาคดีอาชญากรสงคราม ตามหมายจับของนายพลแม็คอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการกองทัพอเมริกัน ทำให้ท่านถูกจับกุมคุมขังทั้งในญี่ปุ่นและคุกของไทยเราเองรวมเวลากว่าครึ่งปี ก่อนที่ศาลฎีกาของไทยจะพิพากษาว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเป็นโมฆะ ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว
มีบทบันทึกที่น่าสะท้อนใจ ที่ท่านเขียนไว้ในระหว่างถูกคุมขังที่เมืองไทยเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2489 เล่าว่า ท่านตื่นมาได้ยินเสียงหมู่นักโทษหญิงในเรือนจำร้องเพลงปลุกใจ ซึ่งเป็นล้วนแต่เป็นเพลงที่ท่านแต่งทั้งนั้น ผู้คุมบอกท่านว่าทางการมีนโยบายให้นักโทษร้องเพลงเหล่านั้นเพื่ออบรมจิตใจให้รักชาติ ทำให้ท่านถึงกับรำพันว่า “….เป็นเรื่องน่าขบขัน เพราะว่าทางหนึ่งทางการได้ให้นักโทษร้องเพลงชาติที่เราแต่ง ส่วนอีกทางหนึ่ง ตัวเราผู้แต่งเพลงเหล่านั้นเองต้องมาอยู่ในห้องขัง และการที่ต้องมาอยู่ในห้องขัง ก็เพราะเรื่องรักชาตินั้นเอง…..”
ถึงแม้ว่าอาจจะมีความน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาอยู่บ้าง แต่หลวงวิจิตรวาทการก็ไม่เคยท้อถอยหรือสูญสิ้นศรัทธาในการอุทิศชีวิตเพื่อการทำงาน และสร้างสรรค์สิ่งดีๆฝากไว้สู่คนรุ่นหลัง ด้วยแนวคิดสำคัญที่ว่า
“ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคคือหนทางแห่งความสำเร็จอันดี ชีวิตที่ไม่เคยประสพการต่อสู้ ย่อมเป็นชีวิตที่อ่อนแอ บุคคลที่ไม่เคยมีสัตรู จะเป็นผู้เข้มแข็งไม่ได้”
ก่อนที่จะนำเสนอประวัติ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ โดยละเอียด เรามาดูกันก่อนว่า สิ่งใดที่บ่งบอกความเป็นนักปราชญ์ของท่านบ้าง และเพราะอะไร ผมจึงกล่าวว่า พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นนักปราชญ์ผู้อาภัพ
ความเป็นปราชญ์ของท่านเริ่มฉายแววตั้งแต่วัย 5 ขวบก่อนที่จะได้เข้าโรงเรียนด้วยซ้ำ ด้วยการเรียนเขียนตัวหนังสือไทยที่พ่อของท่านเขียนตัวอย่างใส่กระดานชนวนไว้ให้ก่อนจะออกไปค้าขายกับแม่ท่านทุกๆวัน ทางบ้านก็จะมียายคอยกำกับดูแลการเขียนหนังสือ และมีย่าคอยเล่านิยาย( วรรณคดี ) จำพวกรามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา ให้ท่านฟังก่อนนอน จนเรื่องเหล่านั้นอยู่ในสมองท่านก่อนจะเริ่มหัดอ่านหนังสือได้เองด้วยซ้ำ
พออายุได้ 8 ขวบ ท่านได้เข้าเรียนในโรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง อุทัยธานี บ้านเกิดของท่าน ในระหว่างนั้น คุณตาของท่าน คือ หลวงสกลรักษา นายอำเภอสะแกกรัง ก็ได้เรียกท่านไปหัดเขียนสำนวนฟ้อง ซึ่งท่านก็เรียนรู้ได้ดี แต่น่าเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีทุนทรัพย์ให้เรียนต่อ ท่านจึงต้องหักเหมาเรียนทางธรรม โดยบรพพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์วรมหาวิหารเมื่อท่านอายุได้ 13 ปี
ท่านศึกษานักธรรมบาลี จนสำเร็จหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี โดยสอบได้ลำดับที่ 1 และได้รับประกาศนียบัตรจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6)
ว่ากันว่า ในระหว่างที่ศึกษานักธรรมบาลีนั้น ท่านยังแอบศึกษาวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสควบคู่ไปด้วย จนมีความรู้แตกฉาน สามารถแปลพงศาวดารเยอรมันจากอังกฤษเป็นไทย โดยใช้นามปากกา “แสงธรรม”
หลังจากสำเร็จเรียนจบเปรียญธรรม 5 ประโยคเมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทอยู่หนึ่งเดือน ก่อนจะลาสิกขาบทออกมารับราชการ โดยเริ่มต้นที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และหลังจากนั้นท่านก็ได้รับราชการในตำแหน่งสำคัญๆของประเทศอีกหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเลขานุการสถานฑูตไทยในกรุงปารีสและกรุงลอนดอน หัวหน้ากองการกงสุล กองการฑูต และกองการเมือง ในกระทรวงการต่างประเทศตามลำดับ เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง เป็นเจ้ากรมปกาสิต ( ชื่อกรมในขณะนั้น) เป็นอธิบดีกรมศิลปรการคนแรก เป็นรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง เป็นเอกอัครราชฑูต และตำแหน่งสูงสุดของท่านก็เห็นจะเป็น ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ( เทียบเท่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน )
ตลอดระยะเวลาที่ท่านรับราชการในตำแหน่งต่างๆดังกล่าว ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างเต็มกำลังความสามารถ ได้สร้างคุณูประโยชน์ให้ประเทศชาติสืบต่อมาถึงรุ่นหลังไม่น้อย ที่เห็นเด่นชัดคือ ท่านเป็นผู้ปฏิวัติภาพลักษณ์ของอาชีพ “เต้นกินรำกิน” โดยการจุดประกายความสำคัญของการดนตรี ละคร และนาฏศิลป์ ในสมัยที่ท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งแม้ในยุคแรกๆ ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจหรือการให้ความสำคัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเท่าใดนัก แต่ท่านก็ยืนหยัดต่อสู้ จนกระทั่งวิชาชีพดังกล่าวได้รับการยอมรับในสังคมมาถึงทุกวันนี้
และในระหว่างการรับราชการ นอกจากการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่แล้ว หลวงวิจิตรวาทการยังสรา้งสรรค์ผลงานด้านการประพันธ์ ปาฐกถา ออกมามากมาย โดยเฉพาะผลงานประพันธ์ที่ท่านชื่นชอบ และได้เริ่มงานประพันธ์เล็กๆน้อยๆมาตั้งแต่อายุ 16 –17 ก่อนจะมาจับงานนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ท่านอายุ 29 ปีในระหว่างรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ และได้ประพันธ์หนังสือต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตท่านนับได้มากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีทั้งบทประพันธ์ที่เป็นนวนิยาย บทละคร บทเพลง ผลงานวิชาการ ซึ่งมีการกล่าวขวัญกันว่า ท่านเป็นผู้ที่มีสมองโลดแล่น และสร้างงานประพันธ์ได้รวดเร็วอย่างประหลาด และเป็นที่น่าทึ่งว่า ทั้งๆที่ท่านทำงาน ( รับราชการ ) หนักมาตลอด ( จะมีช่วงลาออกจากราชการไปเป็นเป็นนักประพันธ์อย่างเดียวก็แค่ไม่กี่ปี ) แต่ทำไมถึงยังสร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่ามหาศาลออกมาได้ขนาดนั้น ท่านเอาเวลาที่ไหนไปเขียนไปแต่ง ซึ่งเจ้าตัวเคยให้คำตอบไว้อย่างน่าฟังว่า
“….อันที่จริงเวลาของคนเรานั้นย่อมจะมีอยู่เสมอ ถ้าหากมีความตั้งใจจริง ที่จะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เวลาจะล่วงช้าไปถ้าเราใช้ประโยชน์ และจะล่วงเร็วไปถ้าเราไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์อะไร….”
เรื่องน่าทึ่งอีกอย่างที่หลายคนคงไม่รู้ คือ หลวงวิจิตรวาทการที่ได้ชื่อว่าเป็นนักพูดชั้นแนวหน้าของไทย ( ดูได้จากชื่อ วิจิตรวาทการ) แต่ตัวท่านเองกลับมีอาการ “ติดอ่าง” ซึ่งเหมือนกับเป็นการกลั่นแกล้งจากธรรมชาติให้ถ่วงดุลอำนาจกับมันสมองที่ปราชญ์เปรื่องของท่าน ว่ากันว่า ตัวท่านเองก็เคยท้อใจอยู่บ้างเวลาต้องออกไปพูดหรือปาฐกถาที่ใด แม้จะเรียบเรียงบทพูดมาเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ยังดีที่ว่า อาการติดอ่างนั้นจะเกิดขึ้นแค่ใน 2-3 นาทีแรก และต่อมาท่านก็ได้รักษาอาการนี้จนหายได้ในที่สุด
ด้วยความรู้ความสามารถระดับอัจฉริยะที่ท่านมีอยู่ น่าจะทำให้ชีวิตของท่านผู้นี้เป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือ เป็นตำนานแห่งบุคคลต้นแบบระดับแนวหน้าของเมืองไทย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้นเสียทั้งหมด เพราะยังมีบางแง่มุมของชีวิตหลวงวิจิตรวาทการ ที่เป็นความอาภัพซึ่งควรได้รับความเห็นใจจากผู้ที่ได้ทราบ
จุดเริ่มต้นความอาภัพในชีวิตของท่าน อาจจะมาจากการเป็นนักประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างที่ท่านรับราชการไปด้วย หรือช่วงที่ท่านลาออกจากราชการมาจับงานประพันธ์เต็มตัวอยู่ช่วงหนึ่ง แม้จะไม่ปรากฏว่าท่านมีความเป็นอยู่ที่ความยากลำบากหรือเดือดร้อนจากการเป็นนักประพันธ์ ซ้ำในทางตรงข้าม ดูเหมือนว่า ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตการเป็นนักประพันธ์อย่างมากมายด้วยซ้ำ ถึงขนาดเคยเอ่ยปากเองว่า ผลจากการเป็นนักประพันธ์ในระหว่างที่ลาออกจากราชการ ทำให้มีรายได้ดีกว่าช่วงที่รับราชการอยู่ด้วยซ้ำ และผลงานประพันธ์หลายชิ้นของท่านก็ยังคงเป็นอมตะมาถึงปัจจุบัน
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ปราชญ์นักประพันธ์ท่านนี้ก็ยอมรับเองว่า ชีวิตนักประพันธ์โดยมากย่อมจะอาภัพ และอาภัพมากกว่าสาขาอาชีพอื่น นักเขียนคนหนึ่งกว่าจะได้รับเกียรติยศให้เข้าขั้นนักประพันธ์นั้นต้องทำงานอย่างเอาชีวิตเข้าแลกทุกคน นักประพันธ์คนหนึ่งกว่าจะเป็นนักประพันธ์ที่ดีได้ ต้องได้เคยช้ำอกช้ำใจมาแล้วตั้งหลายครั้งหรือเกือบตลอดชีวิต และท่านก็เคยสั่งเสียไว้ว่า ถ้าจะเป็นนักประพันธ์ ก็ต้องตรึกตรองดูให้ดีก่อนว่าจะยอมตายหรือไม่ ถ้ายังไม่สมัครใจใจที่จะอดตายก็ควรเลิกความคิดที่จะเป็นนักประพันธ์
จากแนวคิดของท่าน สะท้อนให้เห็นถึงวิถึชีวิตของนักประพันธ์ในสมัยนั้นว่าอาภัพเพียงใด แม้จะไม่ได้บอกกล่าวถึงชีวิตของตัวเองโดยตรง แต่ก็น่าจะทำให้คิดได้ว่า ท่านคงต้องเคยผ่านวิถีชีวิตแบบนั้นมาแล้วไม่มากก็น้อย
มุมชีวิตที่น่าเห็นใจอีกอย่างหนึ่งของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการก็คือ หลายครั้งที่ความรู้ความสามารถที่ท่านมี กลับไม่ได้ช่วยให้ท่านโดดเด่นขึ้นมาเท่าที่ควร ซ้ำบางช่วงเวลา ยังเกือบจะทำให้ท่านเดือดร้อนเสียอีก โดยเฉพาะบนวิถีทางการเมือง!!!!!
ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร์ ซึ่งหลายคนที่เป็นผู้นำในกลุ่มดังกล่าว ( หนึ่งในนั้นคือ ท่านปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ) เป็นเพื่อนสนิทของหลวงวิจิตรวาทการ แต่ตัวท่านเองกลับไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมกลุ่ม และแม้เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านก็ไม่ได้มีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้นไปต่างๆนานา บ้างก็ว่าเพราะท่านกลัวราชภัยจึงไม่กล้าเข้าร่วมแต่แรก แต่จะคอยหาโอกาสชุบมือเปิบภายหลัง และเมื่อท่านก่อตั้งคณะการเมืองขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เสมือนว่าจะแข่งกับคณะราษฎร์ ก็ยิ่งเหมือนเพิ่มประแสวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น แต่ท่านก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงหรือให้ความกระจ่างในเรื่องนี้มากนัก นอกจากจะบอกปัดไปว่า “ไม่มีใครจะทราบดีไปกว่าผู้เริ่มก่อการ ( คณะราษฏร์) ซึ่งเป็นเพื่อนของข้าพเจ้ากับตัวข้าพเจ้าเอง ” และขู่จะฟ้องศาลฐานหมิ่นประมาทหากมีพยานหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นต้นตอการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว
ต่อมาเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงครามเรืองอำนาจ หลวงวิจิตรวาทการมีภาพลักษณ์ออกมาในฐานะขุนพลคู่ใจจอมพล ป. โดยมีบทบาทในการช่วยปลุกกระแสความรักชาติ ผ่านทางบทประพันธ์ ทั้งบทละคร เพลง หรือแม้แต่นวนิยายของท่าน ซึ่งถึงแม้ผลงานดังกล่าวของท่านหลายชิ้นยังคงเป็นอมตะมาถึงวันนี้ เช่น เพลงปลุกใจต่างๆ เป็นต้น แต่กลับส่งผลลบต่อตัวผู้ประพันธ์ในสายตาคนจำนวนไม่น้อยในสังคม ที่มองว่า ท่านเป็นผู้คลั่งไคล้ลัทธิชาตินิยมจนเกินเหตุ
ยิ่งเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้โค่นล้มอำนาจรัฐบาลหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) หลวงวิจิตรวาทการในฐานะผู้ใกล้ชิดจอมพล ป.ก็พลอยถูกมองเป็นพวกเผด็จการไปด้วย โดยเฉพาะจากกลุ่มคนที่นิยมและสนับสนุนหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ยิ่งไปกว่านั้น ต่อมาเมื่อจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ได้กระทำรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. แล้วขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้หลวงวิจิตรวาทการดำรงตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยิ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นอีก ด้วยความที่ท่านเคยเป็นคนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกยึดอำนาจ
และจากการที่ท่านถูกมองว่าเป็น “ผู้เลื่อมใสลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรง” ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อท่านภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง อันเนื่องมาในระหว่างสงคราม รัฐบาลไทยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร หลวงวิจิตรวาทการต้องทำหน้าที่ปลุกระดมกระแสความรักชาติ รวมไปถึงถูกส่งไปเป็นเอกอัครราชฑูตประจำกรุงโตเกียว จนกระทั่งสงครามจบ ด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ท่านเป็นหนึ่งใน 35 ผู้ต้องหาคดีอาชญากรสงคราม ตามหมายจับของนายพลแม็คอาร์เธอร์ ผู้บัญชาการกองทัพอเมริกัน ทำให้ท่านถูกจับกุมคุมขังทั้งในญี่ปุ่นและคุกของไทยเราเองรวมเวลากว่าครึ่งปี ก่อนที่ศาลฎีกาของไทยจะพิพากษาว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงครามเป็นโมฆะ ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว
มีบทบันทึกที่น่าสะท้อนใจ ที่ท่านเขียนไว้ในระหว่างถูกคุมขังที่เมืองไทยเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2489 เล่าว่า ท่านตื่นมาได้ยินเสียงหมู่นักโทษหญิงในเรือนจำร้องเพลงปลุกใจ ซึ่งเป็นล้วนแต่เป็นเพลงที่ท่านแต่งทั้งนั้น ผู้คุมบอกท่านว่าทางการมีนโยบายให้นักโทษร้องเพลงเหล่านั้นเพื่ออบรมจิตใจให้รักชาติ ทำให้ท่านถึงกับรำพันว่า “….เป็นเรื่องน่าขบขัน เพราะว่าทางหนึ่งทางการได้ให้นักโทษร้องเพลงชาติที่เราแต่ง ส่วนอีกทางหนึ่ง ตัวเราผู้แต่งเพลงเหล่านั้นเองต้องมาอยู่ในห้องขัง และการที่ต้องมาอยู่ในห้องขัง ก็เพราะเรื่องรักชาตินั้นเอง…..”
ถึงแม้ว่าอาจจะมีความน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาอยู่บ้าง แต่หลวงวิจิตรวาทการก็ไม่เคยท้อถอยหรือสูญสิ้นศรัทธาในการอุทิศชีวิตเพื่อการทำงาน และสร้างสรรค์สิ่งดีๆฝากไว้สู่คนรุ่นหลัง ด้วยแนวคิดสำคัญที่ว่า
“ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคคือหนทางแห่งความสำเร็จอันดี ชีวิตที่ไม่เคยประสพการต่อสู้ ย่อมเป็นชีวิตที่อ่อนแอ บุคคลที่ไม่เคยมีสัตรู จะเป็นผู้เข้มแข็งไม่ได้”
27 เมษายน 2556
นักกีฬาสุดยอดไอคอนระดับโลก ใน "มองซีอีโลก ภาค 10" ผลงานล่าสุดจากปลายปากกา วิกรม กรมดิษฐ์
เมื่อตอนบ่าย ผมหลบอากาศร้อนและแสงแดดที่แผดเผาเข้าไปเดินตากแอร์เล่นที่ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต โดยไม่ลืมแวะไปเยี่ยมร้านหนังสือเจ้าประจำ ทั้งนายอินทร์ ซีเอ็ด และบีทูเอส เพื่อสำรวจความเคลื่อนไหวบนแผงหนังสือตามเคย แล้วก็พบว่า ในบรรดาหนังสือออกใหม่ตอนนี้ มี “มองซีอีโอโลก ภาค 10 ” ของคุณวิกรม กรมดิษฐ์ รวมอยู่ด้วย
และหลังจากรอคอยมาเป็นเวลากว่าปีครึ่ง นับตั้งแต่ “มองซีอีโอโลก ภาค 9 : ผู้บุกเบิก” ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือน ก.ย.54 บัดนี้ “มองซีอีโอโลก ภาค 10” ก็ได้ปรากฏโฉมต่อบรรณพิภพแล้ว โดยการตีพิมพ์ของสำนักพิมพ์ โพสต์บุ๊กส์ เจ้าเก่า เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง
ในภาคนี้ คุณวิกรมใช้ชื่อว่า “สุดยอดไอคอนระดับโลก” ซึ่งเนื้อหาเป็นเรื่องราวชีวิตของนักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น คาโนะ จิโงะโร ผู้ก่อตั้งวิชายูโด เปเล่ อดีตราชานักฟุตบอลในตำนาน ไมเคิล จอร์แดน จอมราชันบาสเกตบอล เดวิด แบ็กแฮม สุดยอดไอคอนนักฟุตบอล ไมเคิง เฟลป์ส ฉลามหนุ่มโอลิมปิก โผน กิ่งเพชร และ เขาทราย กาแลคซี่ นักมวยชาวไทยที่คว้าเข็มขัดแชมป์โลกในสองยุคสมัย แมนนี่ ปาเกียว นักชกเอเชียที่ร่ำรวยที่สุด และอีกหลายไอคอนที่แฟนกีฬายกนิ้วให้
คำโปรยปกเขาบอกไว้ว่า “สำหรับคนที่รักการกีฬาและต้องการเป็นมืออาชีพ หรือต้องการประสบความสำเร็จ หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณ หรืออย่างน้อยคุณก็จะเห็นว่า นักกีฬาและกรีฑาระดับโลกนั้นเขา “อึด” กันแค่ไหนทำอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่”
ลักษณะการนำเสนอ ก็ยังคงนำเสนอเรื่องราวผ่านมุมมองของคุณวิกรมเช่นเดียวกับทุกภาคที่ผ่านมา และราคาก็ยังคงเดิม 100 บาท ( ถ้าใช้ภาษาวัยรุ่นในโลกโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คตอนนี้ก็คงต้องบอกว่า ถูกฝุดๆ บ่องตง!) เชื่อว่าคงมีขายตามร้านหนังสือทั่วไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง ตามที่คุณวิกรมเคยบอกไว้ว่า หนังสือชุด “มองซีอีโอโลก” จะเขียนจนครบ 10 ภาคนั้น ใน "มองซีอีโอโลก ภาค 10 : สุดยอดไอคอนระดับโลก” นี้ก็คงเป็นภาคสุดท้าย แต่ที่ผมใช้คำว่า ผลงานล่าสุด นั้น เพราะเชื่อว่า คุณวิกรมคงจะไม่หยุดที่จะสร้างสรรค์หนังสือดีๆออกมาให้แฟนๆได้อ่านกันอีกแน่นอน
26 เมษายน 2556
รักจริง อิง-ตัน : โลกที่งดงามด้วยความรักของเจ้าพ่อชาเขียว
ผมเขียนถึงเรื่องของ คุณตัน ภาสกรนทีในบล็อก “ไอดอลแมน” นี้ต่อเนื่องมาสองวันแล้ว วันนี้ก็ขออีกสักแง่มุมหนึ่งเกี่ยวกับเจ้าพ่อธุรกิจคนนี้ ที่ผมว่าเป็นเรื่องดีๆที่ควรแก่การนำเสนอ นั่นคือ เรื่องราวชีวิตรักของเขากับภรรยาคู่ชีวิต คุณอิง – สุณิสา ภาสกรนที
ตำนานรัก ( เจ้าพ่อ) ชาเขียว เปิดฉากขึ้นในราวปี 2530 ในงานฉลองวันคล้ายวันเกิดของกำนันท่านหนึ่งในอำเภอบ่อทอง จ.ชลบุรี เมื่อ ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจหนุ่มวัย 28 ปี ได้พบกับ สุณิสา สุขพันธ์ถาวร หรือ “อิง” ลูกสาวกำนันวัย 17 ปี ความถูกชะตาในคราแรกพบ ทำให้ตันมอบนามบัตรของตนให้เธอ ซึ่งอิงก็รับไว้ แต่ทั้งคู่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจแต่อย่างใด
เกือบหนึ่งปีต่อมา อิงและพี่สาวเข้าไปซื้อของในตัวเมืองชลบุรี ซึ่งห่างจากบ้านราว 80 กิโลเมตร ทั้งคู่ช้อปปิ้งเพลินตามประสาสาวๆจนเงินหมด แต่พี่สาวยังอยากได้เสื้ออีกตัวหนึ่ง อิงค้นดูเงินในกระเป๋าสตางค์ พบว่าเงินไม่พอ จะกลับไปเอาเงินที่บ้านก็ไกลเกิน แต่ค้นเจอนามบัตรของตัน อะไรบางอย่างทำให้อิงตัดสินใจโทรไปขอยืมเงินตัน 1000 บาทมาซื้อเสื้อให้พี่สาว ซึ่งแม้ตันจะงงๆเล็กน้อยในตอนแรก แต่ก็ไม่ปฏิเสธ ด้วยคิดว่า “เค้ากล้ายืม เราก็กล้าให้ ดีซะอีก ต่อไปเธอเป็นลูกหนี้เราแล้ว จะได้มีช่องทางติดต่อ คุยกันได้มากขึ้น อิอิ”
และหลังจากนั้น ทั้งคู่ก็ได้คุยกันมากขึ้นจริงๆ แม้ว่าฝ่ายหญิงจะเป็นคนพูดน้อย ตรงข้ามกับฝ่ายชายที่ช่างเจรจา แต่ทั้งคู่ก็เข้ากันได้ดี จนกระทั่งอิงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ตันจึงได้เริ่มต้นจีบเธออย่างจริงจัง ถึงขนาดขับรถจากชลบุรี มารับสาวเจ้าซึ่งเรียนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต จนรถพังไป 2-3 คัน เพราะเหตุที่ต้องขับฝ่าถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และต้องรีบห้อตะบึงเต็มที่เพื่อไปรับฝ่ายหญิงให้ทันสี่โมงเย็น ( เพราะกลัวหนุ่มอื่นมาขายขนมจีบตัดหน้า ^^) แม้ว่าเมื่อรับกลับมาแล้วจะมีเวลากินข้าวด้วยกันแค่ 15 นาทีก็ต้องรีบพาอิงไปส่ง เพราะพี่ชายของเธอดุมาก แต่นั่นก็คือความสุขอย่างหนึ่งของทั้งคู่
เส้นทางที่ตันขับรถจากชลบุรีไปรับอิงที่รังสิตในตอนนั้นว่าขรุขระไม่ราบเรียบแล้ว แต่เส้นทางชีวิตรักของทั้งสองกลับมีอุปสรรคมากยิ่งกว่า ในตอนนั้นตันเป็นนักธุรกิจตัวเล็กๆ และด้วยเหตุผลที่อายุมากกว่าอิงถึง 11 ปี ทำให้ถูกกีดกันจากพ่อแม่ฝ่ายหญิง ว่ากันว่า ครั้งหนึ่งคุณตันรวบรวมความกล้า เข้าไปพบพ่อกำนัน เพื่อเจรจาขอลูกสาว แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ กองทัพหมัดที่ระดมใส่มาไม่ยั้ง จนคุณแม่ของอิงต้องรีบมาห้าม ก่อนจะหามไปโรงพยาบาล
ตันเจ็บตัว ก็ใช่ว่าจะเรียกคะแนนจากว่าที่พ่อตาแม่ยายในขณะนั้นได้ กลายเป็นว่าทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม เมื่อพ่อแม่ของอิงสั่งห้ามติดต่อกันอีกเด็ดขาด ถึงขนาดตัดสายโทรศัพท์ สั่งให้อิงกลับมาทำงานที่บ้านเพื่อให้อยู่ในสายตา แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะขัดขวางหัวใจรักของทั้งคู่ได้
จนกระทั่งพ่อของอิงเสียชีวิต คุณแม่ก็ยังคงสานต่อเจตนารมณ์ในการกีดกันความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวคู่นี้ต่อมาอีกระยะหนึ่ง แต่แล้วก็ถึงจุดหักเห เมื่อคุณแม่ประสบอุบัติเหตุต้องนอนโรงพยาบาล แล้วเกิดฉุกคิดมาได้ว่า ถ้าตนเองเป็นอะไรไปจะมีใครดูแลลูกสาว และในใจจริงของคุณแม่เองก็ยอมรับถึงความรักอันมั่นคงที่หนุ่มตันมีต่อลูกสาว เลยเริ่มเปิดใจยอมรับได้ ว่า “ชาติที่แล้วสองคนนี้คงเป็นคู่กันมา ชาตินี้เลยต้องครองคู่กันต่อ ห้ามไม่ได้ ”
ทว่าเมื่อแม่ของฝ่ายสาว “ไฟเขียว” ให้แต่งงานกันได้แล้ว ตันกลับเป็นฝ่ายขอเลื่อนการแต่งงาน เนื่องจากขณะนั้นเขากลายเป้นบุคคลล้มละลาย ประสบภาวะเป็นหนี้สินจากการทำธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท จึงไม่อยากให้คนรักต้องมาพลอยแบกรับภาระนั้นไปด้วย
แต่ด้วยหัวใจรักที่งดงาม อิงไม่ได้มองว่าการเป็นคนล้มละลายของรักจะเป็นอุปสรรคต่อความรักของเธอและเขา อิงเข้ามาอยู่เคียงข้างตัน เริ่มต้นสร้างธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์ร่วมกัน คือร้านถ่ายรูปแต่งงาน เพื่อหวังช่วยคนรักล้างหนี้ ตันเล่าว่า อิงยอมเหนื่อยช่วยเหลือทุกอย่าง แม้แต่การยืนแจกใบปลิว หรือติดต่อลูกค้า ซึ่งตันไม่คิดว่าเธอจะทำได้ แต่เธอก็พิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเธอทำได้
ใช้เวลากว่า 11 ปี กว่าที่ทั้งสองจะได้แต่งงานกัน จนถึงทุกวันนี้ เรื่องราวความรักแท้จริงระหว่างอิงกับตัน กลายเป็นอีกหนึ่งฉากความรักหอมหวานที่หลายคนคงต้องแอบอิจฉา ( รวมถึงผู้เขียนด้วย อิอิ ) ซึ่งหากมองย้อนกลับไปให้ดีๆแล้ว นอกจากรากฐานความรักที่มั่นคงจากการเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาแล้ว การดูแลรักษาความรักอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รักนั้นยั่งยืนได้
ด้วยความที่คุณตันเป็นผู้ใหญ่กว่า และเข้าใจโลกแห่งความรักและการใช้ชีวิตคู่เป็นอย่างดี เขาจึงมอบความรักและการเอาใจใส่ภรรยาสุดที่รักอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คุณอิงก็ยอมรับถึงความประทับใจที่มีในข้อนี้ของคุณตัน ว่า ชีวิตเธอมีคุณตันเป็นคู่ชีวิต นับว่าโชคดีเหมือนถูกล็อตเตอรี่ทุกงวด และทั้งคู่ก็เคยพูดแซวกันเสมอว่า ติดตามเป็นคู่ชีวิตกันมาตั้งแต่ชาติที่แล้วจนถึงชาตินี้ และจะตามต่อไปถึงชาติหน้าด้วย
ตำนานรัก ( เจ้าพ่อ) ชาเขียว เปิดฉากขึ้นในราวปี 2530 ในงานฉลองวันคล้ายวันเกิดของกำนันท่านหนึ่งในอำเภอบ่อทอง จ.ชลบุรี เมื่อ ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจหนุ่มวัย 28 ปี ได้พบกับ สุณิสา สุขพันธ์ถาวร หรือ “อิง” ลูกสาวกำนันวัย 17 ปี ความถูกชะตาในคราแรกพบ ทำให้ตันมอบนามบัตรของตนให้เธอ ซึ่งอิงก็รับไว้ แต่ทั้งคู่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจแต่อย่างใด
เกือบหนึ่งปีต่อมา อิงและพี่สาวเข้าไปซื้อของในตัวเมืองชลบุรี ซึ่งห่างจากบ้านราว 80 กิโลเมตร ทั้งคู่ช้อปปิ้งเพลินตามประสาสาวๆจนเงินหมด แต่พี่สาวยังอยากได้เสื้ออีกตัวหนึ่ง อิงค้นดูเงินในกระเป๋าสตางค์ พบว่าเงินไม่พอ จะกลับไปเอาเงินที่บ้านก็ไกลเกิน แต่ค้นเจอนามบัตรของตัน อะไรบางอย่างทำให้อิงตัดสินใจโทรไปขอยืมเงินตัน 1000 บาทมาซื้อเสื้อให้พี่สาว ซึ่งแม้ตันจะงงๆเล็กน้อยในตอนแรก แต่ก็ไม่ปฏิเสธ ด้วยคิดว่า “เค้ากล้ายืม เราก็กล้าให้ ดีซะอีก ต่อไปเธอเป็นลูกหนี้เราแล้ว จะได้มีช่องทางติดต่อ คุยกันได้มากขึ้น อิอิ”
และหลังจากนั้น ทั้งคู่ก็ได้คุยกันมากขึ้นจริงๆ แม้ว่าฝ่ายหญิงจะเป็นคนพูดน้อย ตรงข้ามกับฝ่ายชายที่ช่างเจรจา แต่ทั้งคู่ก็เข้ากันได้ดี จนกระทั่งอิงเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ตันจึงได้เริ่มต้นจีบเธออย่างจริงจัง ถึงขนาดขับรถจากชลบุรี มารับสาวเจ้าซึ่งเรียนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต จนรถพังไป 2-3 คัน เพราะเหตุที่ต้องขับฝ่าถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และต้องรีบห้อตะบึงเต็มที่เพื่อไปรับฝ่ายหญิงให้ทันสี่โมงเย็น ( เพราะกลัวหนุ่มอื่นมาขายขนมจีบตัดหน้า ^^) แม้ว่าเมื่อรับกลับมาแล้วจะมีเวลากินข้าวด้วยกันแค่ 15 นาทีก็ต้องรีบพาอิงไปส่ง เพราะพี่ชายของเธอดุมาก แต่นั่นก็คือความสุขอย่างหนึ่งของทั้งคู่
เส้นทางที่ตันขับรถจากชลบุรีไปรับอิงที่รังสิตในตอนนั้นว่าขรุขระไม่ราบเรียบแล้ว แต่เส้นทางชีวิตรักของทั้งสองกลับมีอุปสรรคมากยิ่งกว่า ในตอนนั้นตันเป็นนักธุรกิจตัวเล็กๆ และด้วยเหตุผลที่อายุมากกว่าอิงถึง 11 ปี ทำให้ถูกกีดกันจากพ่อแม่ฝ่ายหญิง ว่ากันว่า ครั้งหนึ่งคุณตันรวบรวมความกล้า เข้าไปพบพ่อกำนัน เพื่อเจรจาขอลูกสาว แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือ กองทัพหมัดที่ระดมใส่มาไม่ยั้ง จนคุณแม่ของอิงต้องรีบมาห้าม ก่อนจะหามไปโรงพยาบาล
ตันเจ็บตัว ก็ใช่ว่าจะเรียกคะแนนจากว่าที่พ่อตาแม่ยายในขณะนั้นได้ กลายเป็นว่าทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม เมื่อพ่อแม่ของอิงสั่งห้ามติดต่อกันอีกเด็ดขาด ถึงขนาดตัดสายโทรศัพท์ สั่งให้อิงกลับมาทำงานที่บ้านเพื่อให้อยู่ในสายตา แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะขัดขวางหัวใจรักของทั้งคู่ได้
จนกระทั่งพ่อของอิงเสียชีวิต คุณแม่ก็ยังคงสานต่อเจตนารมณ์ในการกีดกันความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวคู่นี้ต่อมาอีกระยะหนึ่ง แต่แล้วก็ถึงจุดหักเห เมื่อคุณแม่ประสบอุบัติเหตุต้องนอนโรงพยาบาล แล้วเกิดฉุกคิดมาได้ว่า ถ้าตนเองเป็นอะไรไปจะมีใครดูแลลูกสาว และในใจจริงของคุณแม่เองก็ยอมรับถึงความรักอันมั่นคงที่หนุ่มตันมีต่อลูกสาว เลยเริ่มเปิดใจยอมรับได้ ว่า “ชาติที่แล้วสองคนนี้คงเป็นคู่กันมา ชาตินี้เลยต้องครองคู่กันต่อ ห้ามไม่ได้ ”
ทว่าเมื่อแม่ของฝ่ายสาว “ไฟเขียว” ให้แต่งงานกันได้แล้ว ตันกลับเป็นฝ่ายขอเลื่อนการแต่งงาน เนื่องจากขณะนั้นเขากลายเป้นบุคคลล้มละลาย ประสบภาวะเป็นหนี้สินจากการทำธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท จึงไม่อยากให้คนรักต้องมาพลอยแบกรับภาระนั้นไปด้วย
แต่ด้วยหัวใจรักที่งดงาม อิงไม่ได้มองว่าการเป็นคนล้มละลายของรักจะเป็นอุปสรรคต่อความรักของเธอและเขา อิงเข้ามาอยู่เคียงข้างตัน เริ่มต้นสร้างธุรกิจที่เริ่มจากศูนย์ร่วมกัน คือร้านถ่ายรูปแต่งงาน เพื่อหวังช่วยคนรักล้างหนี้ ตันเล่าว่า อิงยอมเหนื่อยช่วยเหลือทุกอย่าง แม้แต่การยืนแจกใบปลิว หรือติดต่อลูกค้า ซึ่งตันไม่คิดว่าเธอจะทำได้ แต่เธอก็พิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเธอทำได้
ใช้เวลากว่า 11 ปี กว่าที่ทั้งสองจะได้แต่งงานกัน จนถึงทุกวันนี้ เรื่องราวความรักแท้จริงระหว่างอิงกับตัน กลายเป็นอีกหนึ่งฉากความรักหอมหวานที่หลายคนคงต้องแอบอิจฉา ( รวมถึงผู้เขียนด้วย อิอิ ) ซึ่งหากมองย้อนกลับไปให้ดีๆแล้ว นอกจากรากฐานความรักที่มั่นคงจากการเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาแล้ว การดูแลรักษาความรักอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รักนั้นยั่งยืนได้
ด้วยความที่คุณตันเป็นผู้ใหญ่กว่า และเข้าใจโลกแห่งความรักและการใช้ชีวิตคู่เป็นอย่างดี เขาจึงมอบความรักและการเอาใจใส่ภรรยาสุดที่รักอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คุณอิงก็ยอมรับถึงความประทับใจที่มีในข้อนี้ของคุณตัน ว่า ชีวิตเธอมีคุณตันเป็นคู่ชีวิต นับว่าโชคดีเหมือนถูกล็อตเตอรี่ทุกงวด และทั้งคู่ก็เคยพูดแซวกันเสมอว่า ติดตามเป็นคู่ชีวิตกันมาตั้งแต่ชาติที่แล้วจนถึงชาตินี้ และจะตามต่อไปถึงชาติหน้าด้วย
( ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์ )
ฟังแล้วอดไม่ได้ที่จะอมยิ้มให้กับความโลกความรักที่งดงามของคนทั้งคู่จริงๆครับ ^^
tag:
ความรัก,
ตัน ภาสกรนที,
สุณิสา ภาสกรนที
25 เมษายน 2556
“ตัน ภาสกรนที” อีกหนึ่งต้นแบบ “นักสู้ ม.3 ”
จากบทความก่อนหน้านี้ คือ “ ตันปัน” การแบ่งปันจากผู้ชายชื่อ “ตัน” ที่หัวใจไม่เคย “ตัน” ที่ผมบอกว่าจะกลับมาเล่าถึงชีวิตและการทำงานของคุณตัน ภาสกรนที เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาก็เริ่มกันเลยละกันนะครับ
ตัน ภาสกรนที เป็นทายาทของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่มีฐานะปานกลาง โดยคุณพ่อของเขาอพยพมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มาตั้งรกรากอยู่ที่ชลบุรี และให้กำเนิดคุณตัน เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2502
แต่ด้วยความที่คุณตันไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นลูกจ้างใครตลอดไป คุณตันจึงเริ่มทำธุรกิจเล็กๆของตัวเองในวัย 17 ปี คือเป็นเจ้าของแผงหนังสือเล็กๆในชลบุรี ว่ากันว่า ลูกค้าที่มาซื้อหนังสือที่แผง ล้วนมีความประทับใจอย่างหนึ่ง คือ คุณตันจะจำหนังสือที่ลูกค้าแต่ละคนมาซื้อเป็นจำได้อย่างแม่นยำ บางทีลูกค้ามาถึง ไม่ต้องพูดอะไร คุณตันหยิบหนังสือใส่ถึงให้ตรงตามความต้องการ
ซึ่งคุณตันเผยเคล็ดลับง่ายๆว่า ก็แค่แอบจดรายการหนังสือที่ลูกค้าแต่ละคนชอบซื้อ ซึ่งก็ไม่ใช่วิชามารอะไร แท้จริงแล้วเป็นการเอาใจใส่ความต้องการของลูกค้าด้วยซ้ำ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งอุปนิสัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของคุณตันในเวลาต่อมา
จากธุรกิจแผงหนังสือ คุณตันขยับขยายมาซื้อห้องแถวเพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อนจะไปเริ่มต้นทำภัตตาคารอาหารบุพเฟต์แบบญี่ปุ่น ชื่อ “โออิชิ” เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 และธุรการนี้เอง เป็นจุดกำเนิดของเครื่องดื่มชาเขียว “โออิชิ ” ที่เป็นกลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตอย่างรวดเร็วในเวลานั้น
นอกจากนั้นคุณตันยังมีธุรกิจอื่นๆอยู่ด้วย คือ ทำธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ร่วมกับคุณสุณิสาหรือ “อิง” ภรรยาคู่ชีวิต แต่ตอนนั้นขาดทุนจนเลิกกิจการไป
ความเป็นนักสู้ของคุณตัน ปรากฎในรูปแบบชีวิตการทำงานของเขามาโดยตลอด ไม่ว่าจะต้องเจออุปสรรคขวากหนาม ต้องล้มลุกคลุกคลานสักกี่ครั้ง แต่ผู้ชายคนนี้ก็ยังคงไม่หวั่นไหว ยังมุ่งมั่นเดินหน้าสู้ต่อไปด้วยแรงใจที่แข้งแกร่ง และกำลังใจจากคนในครอบครัว
ในวันที่ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว “โออิชิ” ประสบความสำเร็จอย่างสูงนั้น ชื่อและภาพของ “ตัน ภาสกรนที” กลายเป็นเหมือนไอดอลของใครหลายๆคน ในฐานะที่ก้าวมาจาก “นักสู้ ม.3 ” จนได้ยืนอยู่อย่างสง่าผ่าเผยในสังคม
แม้ในวันที่คุณตันขายหุ้นใหญ่ของบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน ) ให้กับบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ก่อนจะลาออกตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท มาตั้งบริษัทใหม่ คือ บรืษัท ไม่ตัน จำกัด เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2553 ภาพความเป็น “ไอดอล” ของคุณตันก็ไม่ได้จางลง ซ้ำยังกลับโดดเด่นขึ้นมามากกว่าเดิม
เมื่อเขาได้ก่อตั้งมูลนิธิ ตันปัน เพื่อเป็น “ศูนย์กลางการแบ่งปันด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ว่า เขาและภรรยาจะแบ่งกำไรของบริษัทที่ตั้งใหม่ 50 % มอบแก่มูลนิธิเป็นประจำทุกปี ไปจนกว่าเขาจะอายุ 60 ปี และหลังจากนั้น ส่วนแบ่งที่จะมอบให้มูลนิธิ จะเพิ่มเป็นมากกว่า 90 %
คุณตันบอกว่า บริษัท ไม่ตัน จำกัด ที่ปัจจุบันประกอบธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียว อิชิตัน นั้น ประกอบการเพื่อ “ภารกิจ” มากกว่า “ธุรกิจ” ภารกิจที่ว่าคือ การจัดสรรค์เงินปันผลกำไรไปช่วยเหลือด้านการศึกษาของเด็กที่ขาดแคลนโอกาส เหมือนที่คุณตันเคยขาดแคลน รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ผมเชื่อว่า ในสังคมเรา มีหลายคนที่เป็น “นักสู้ ม.3” เช่นเดียวกับคุณตัน คือ มีพื้นฐานการศึกษาที่ไม่สูงนัก แต่ใช้ความมานะพากเพียร ต่อสู้ดิ้นรนจนประสบความสำเร็จในชีวิต แต่สิ่งที่คุณตันมีพิเศษกว่านั้น คือ เมื่อเขาประสบความสำเร็จแล้ว ก็ไม่ลืมที่จะมองย้อนไปยังคนที่ยังขาดแคลน และหยิบยื่นแบ่งปันโอกาสให้พวกเขาเหล่านั้น จึงนับได้ว่า ผู้ชายคนนี้สมควรได้รับการชื่นชมเป็นบุคคลต้นแบบของสังคมอีกคนหนึ่ง
24 เมษายน 2556
"ตันปัน" การแบ่งปันจากหัวใจที่ไม่เคย "ตัน" ของผู้ชายชื่อ "ตัน ภาสกรนที"
ก่อนที่จะเริ่มสร้างบล็อก "ไอดอลแมน" นี้ขึ้นมาเป็นรูปธรรม ผมใช้เวลาช่วงหนึ่งวาดภาพและวางแผนการเขียนบล็อกนี้ในใจ นอกจากจะกำหนดทิศทางเนื้อหาของบล็อกแล้ว ก็ยังวางโครงร่างล่วงหน้าว่าจะนำเอาเรื่องราวของใครมาเขียนลงในบล็อกนี้บ้าง
และหนึ่งในบุคคลที่ผมตั้งใจจะนำมาบรรจุไว้ใน "ไอดอลแมน" ก็คือ คุณตัน ภาสกรนที
หลายคนคงประทับใจการตั้งปณิธานของคุณตันภายหลังก่อตั้งมูลนิธิ "ตันปัน" เมื่อปี 2554 ว่า เขาและภรรยาจะแบ่งกำไรจากธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม "อิชิตัน" 50 % มอบแก่มูลนิธิตันปัน เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม โดยจะมอบตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มกิจการชาเขียวอิชิตันภายใต้บริษัท ไม่ตัน ( บริษัทที่เขาเริ่มกิจการใหม่ภายหลังขายหุ้นชาเขียว โออิชิ )และจะมอบให้ไปจนกว่าเขาจะอายุ 60 ปี คือวันที่ 9 ก.ย.2562
หลังจากนั้นเขาจะเพิ่มส่วนแบ่งให้ เป็นมากกว่าร้อยละ 90 ของผลกำไรที่ได้
นับเป็นความ "ใจป้ำ" ที่ยากจะหานักธุรกิจคนใดทำได้
แรงบันดาลใจของการก่อตั้งมูลนิธิ "ตันปัน" นี้ขึ้นมา คุณตันบอกว่า เป็นเพราะการขาดแคลนโอกาสด้านการศึกษาของตนเองในสมัยเด็ก เพราะคุณตันจบการศึกษาแค่ระดับชั้น ม.3 แล้วก็ต้องออกมาทำงานเป็นพนักงานแบกของ ก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเองตั้งแต่อายุ 17 จนกระทั่งวันนี้ที่เขาประสบความสำเร็จ มีทุกอย่างพร้อม เขาก็อยากจะแบ่งปันโอกาสที่เขาเคยขาดไปให้เด็กๆรุ่นหลัง ผ่านทางมูลนิธิตันปัน ที่เขาบอกว่า อยากให้เป็น "ศูนย์รวมเล็กๆของการแบ่งปันสู่สังคม ทางด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม "
แม้ว่าคุณตันจะประกาศเจตนารมย์ ว่ามูลนิธิตันปันมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการสนับสนุนด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ ขอบเขตการแบ่งปันของมูลนิธินี้ก็ยังครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ทั้งในบ้านเราและเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีแผ่นดินไหวที่เมือง Sandai ประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2554 มูลนิธิตันปันได้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินบริจาคส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
และหนึ่งในบุคคลที่ผมตั้งใจจะนำมาบรรจุไว้ใน "ไอดอลแมน" ก็คือ คุณตัน ภาสกรนที
แน่นอนว่าผมไม่ได้ยกเรื่องราวของเขาเป็นบุคคลต้นแบบเพราะคิดเพียงว่า เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือเท่านั้น หากแต่เพราะหัวใจสุภาพบุรุษของเขาที่ไม่เคย "ตัน"น้ำใจตะหากเป็นเหตุผลสำคัญ
หลายคนคงประทับใจการตั้งปณิธานของคุณตันภายหลังก่อตั้งมูลนิธิ "ตันปัน" เมื่อปี 2554 ว่า เขาและภรรยาจะแบ่งกำไรจากธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม "อิชิตัน" 50 % มอบแก่มูลนิธิตันปัน เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม โดยจะมอบตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มกิจการชาเขียวอิชิตันภายใต้บริษัท ไม่ตัน ( บริษัทที่เขาเริ่มกิจการใหม่ภายหลังขายหุ้นชาเขียว โออิชิ )และจะมอบให้ไปจนกว่าเขาจะอายุ 60 ปี คือวันที่ 9 ก.ย.2562
หลังจากนั้นเขาจะเพิ่มส่วนแบ่งให้ เป็นมากกว่าร้อยละ 90 ของผลกำไรที่ได้
นับเป็นความ "ใจป้ำ" ที่ยากจะหานักธุรกิจคนใดทำได้
แรงบันดาลใจของการก่อตั้งมูลนิธิ "ตันปัน" นี้ขึ้นมา คุณตันบอกว่า เป็นเพราะการขาดแคลนโอกาสด้านการศึกษาของตนเองในสมัยเด็ก เพราะคุณตันจบการศึกษาแค่ระดับชั้น ม.3 แล้วก็ต้องออกมาทำงานเป็นพนักงานแบกของ ก่อนจะเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเองตั้งแต่อายุ 17 จนกระทั่งวันนี้ที่เขาประสบความสำเร็จ มีทุกอย่างพร้อม เขาก็อยากจะแบ่งปันโอกาสที่เขาเคยขาดไปให้เด็กๆรุ่นหลัง ผ่านทางมูลนิธิตันปัน ที่เขาบอกว่า อยากให้เป็น "ศูนย์รวมเล็กๆของการแบ่งปันสู่สังคม ทางด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม "
แม้ว่าคุณตันจะประกาศเจตนารมย์ ว่ามูลนิธิตันปันมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการสนับสนุนด้านการศึกษาและสิ่งแวดล้อม แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ ขอบเขตการแบ่งปันของมูลนิธินี้ก็ยังครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ ทั้งในบ้านเราและเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีแผ่นดินไหวที่เมือง Sandai ประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2554 มูลนิธิตันปันได้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเงินบริจาคส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
หรือเมื่อเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในบ้านเราเอง ในกลางปีเดียวกันนั้นเอง ตันปันก็เป็นอีกหนึ่งในบรรดาหน่วยงานที่ออกมาช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน ในรูปแบบของการแพ็คถุงยังชีพเพื่อผู้ประสบภัย
รวมไปถึงการเปิดอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 30 ห้องบริเวณหลังห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชลบุรี เพื่อรองรับผู้ประสบภัยให้เข้าพักฟรีด้วย
และจากวิกฤตมหาอุทกภัยครั้งนั้นเอง หลายคนคงจะจำได้ถึงเหตุการณ์ที่ทำให้คุณตันต้องเสียน้ำตา ทว่าได้หัวใจของคนไทยไปเต็มๆ ก็คือ โรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งใหม่ของคุณตันในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะก็ไม่รอดจากการถูกน้ำท่วมจนเสียหายยับเยินกว่า 3,500 ล้านบาท ทว่าคุณตันก็ยังคงเดินหน้า สานต่อเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือสังคมต่อไป
จำได้ว่าคุณตันยังคงสั่งให้มีการผลิตน้ำดื่มเพื่อแจกจ่ายผู้ประสบภัย รวมไปถึงการเปิดตัวหนังสือ "วิถี ( ไม่) ตัน ฉบับ ตัน ภาสกรนที" ที่วางจำหน่ายเล่มละ 100 บาท เพื่อนำรายได้ไปบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย
หนังสือ "วิถี ( ไม่) ตัน ฉบับ ตัน ภาสกรนที " เป็นหนังสือบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์การทำงานตลอด 30 กว่าปีของคุณตัน ตลอดจนแง่คิดและกำลังใจของผู้เป็นประธานมุลนิธิ "ตันปัน" คนนี้ ซึ่งเป็นหนังสือดีที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่ง
แต่ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะในบทความถัดไปของ "ไอดอลแมน" จะขอนำเสนอเรื่องราวชีวิตและการทำงานของคุณตัน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ควรค่าแก่การศึกษาเรียนรู้และนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ติดตามอ่านในบทความหน้านะครับ
tag:
ตัน ภาสกรนที,
ตัน อิชิตัน,
มูลนิธิตันปัน
21 เมษายน 2556
นฤชา เพ่งผล: จาก " จิ๊กโก๋ยามบ่าย " สู่ "นักบุญคนสู้ชีวิต"
ย้อนหลังไปราวๆปี พ.ศ.2520 - 2530 ( ผู้เขียนเกิดไม่ทันหรอกครับ ฟังคนยุคนั้นเค้าเล่ามา ^^) ในวงการเพลงบ้านเรา กระแสความนิยมเพลงสากลยังคงมีอยู่ค่อนข้างมาก ประมาณว่าอาจจะพอๆกับกระแส "เกาหลีฟีเวอร์ " ในยุคนี้ก็ว่าได้
ทว่าในยุคนั้น ช่องทางการฟังเพลงไม่ได้มีหลากหลายเท่าไหร่ ถ้าไม่ซื้อเทปคลาสเซทหรือแผ่นเสียงมาฟังเอง ส่วนใหญ่ก็จะฟังตามสถานีวิทยุ ซึ่งมีรายการเพลงสากลที่มีนักจัดรายการ ( ดีเจ ) ชื่อดังอยู่หลายคน
หนึ่งในนั้นคือ นฤชา เพ่งผล ผู้จัดรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย " ออกอากาศทางสถานีวิทยุทหารอากาศสะพานแดง บางซื่อ คลื่นความถี่ AM 964 กิโลเฮิร์ต ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 14.00 - 15.00 น. และรายการ "จิ๊กโก๋ยามดึก " ทางสถานีวิทยุทหารอากาศ 01 ดอนเมือง เวลา 22.00 - 23.00 น.
ซึ่งวัยรุ่นสมัยนั้นติดกันงอมแงม ชนิดที่ว่ากันว่า ใครไม่รู้จักหรือไม่เคยฟัง "จิ๊กโก๋ยามบ่าย " ถือว่าเชยสะบัด
ปัจจุบัน นักจัดรายการที่ชื่อ นฤชา เพ่งผล เป็นเจ้าของสถานีวิทยุ คลื่นความถี่ FM 91.25 MHz ที่ตั้งสำนักงาน ณ บ้านเลขที่ 111/156 ซอย 69/2 สะพานใหม่ ( ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเซ็นทรัล เยนเนอรัล) เขตบางเขน กทม.ซึ่งสถานที่ดังกล่าว ยังเป็นสำนักงานของชมรมการกุศล ชื่อ "ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต" ที่นักจัดรายการอาวุโสท่านนี้ก่อตั้งขึ้นมาด้วย
ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต ซึ่งมีสโลแกนประจำชมรมว่า "เราจะก้าวต่อไป....ด้วยหัวใจของนักบุญ " ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการกุศลต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอุปถัมภ์โรงเรียนยากจน ( เช่น โรงเรียนบ้านหนองแขม จ.สุพรรณบุรี ) การรับบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการกุศล เป็นต้นว่า บูรณะซ่อมแซม ก่อสร้างพุทธสถาน ตามวัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะการร่วมบุญกับวัดสายไหม ซึ่งมีเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์อ๊อด ผู้โด่งดังจากการสร้างตระกรุดลูกปืนอันลือลั่น ซึ่งเป็นพระน้องชายของอาจารย์นฤชาเอง ดังนี้เป็นต้น
และจะด้วยโชคชะตาฟ้าลิขิตหรืออะไรก็ไม่แล้วแต่ ทำให้ผมได้มีโอกาสรู้จักและเคยร่วมกิจกรรมกับชมรมดังกล่าวอยู่บ้าง ด้วยเหตุที่เพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ของผมคนหนึ่ง ซึ่งคงจะเป็นแฟนรายการของอาจารย์นฤชามาแต่ดั้งเดิมได้ชักชวนไป เพราะลำพังผม ( ผู้เขียน ) เองยอมรับตรงๆเลยว่า เพิ่งเคยได้ยินชื่อของนักจัดรายการท่านนี้และชมรมนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ( เนื่องจากช่วงที่ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" กำลังโด่งดังนั้น ผมก็คงกำลังนั่งเล่นเป่ากบ ดีดลูกแก้ว หรือไล่จับแมงช้าง ตัวด้วงไปเรื่อยเปื่อยอยู่ในโรงเรียนประถมที่ต่างจังหวัดอยู่เลย อิอิ ) แต่เมื่อได้ทราบว่าเป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล ผมก็เลยไม่ลังเลที่จะหาโอกาสไปร่วมกิจกรรมของทางชมรมตามคำชวนของรุ่นพี่
ตัวอย่างกิจกรรมที่เคยไปร่วม ผมบันทึกไว้ในอีกบล็อกหนึ่งของผม คือ บล็อก Antiblanklife ในบทความเรื่อง ผมไปทำบุญกับ"จิ๊กโก๋ฯ"มาครับ.... และ บุกบ้านจิ๊กโก๋ในวันตรุษจีน
ย้อนกล่าวถึงที่ผมเล่าว่า เพิ่งมารู้จักชื่อ "นฤชา เพ่งผล" เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ช่วงนั้นได้รับคำบอกเล่า ( ทั้งจากรุ่นพี่ รวมถึงเสียงจากแฟนคลับรุ่นเก๋าของท่านในอินเตอร์เน็ตบางเว็บบอร์ดที่ผมเคยอ่านเจอ ) ถึงความโด่งดังในอดีตของนักจัดรายการท่านนี้ ด้วยความที่เกรงว่าจะคุยกับบรรดา "จิ๊กโก๋" ทั้งหลายไม่รู้เรื่อง ( ฮ่า!) ผมเลยลองค้นหาข้อมูลประวัติของเจ้าของรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" ท่านนี้ดู
แหล่งที่ค้นหาสะดวกสุดก็คงหนีไม่พ้นแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แต่แล้วผมก็อดรู้สึกขัดใจนิดๆไม่ได้ เมื่อพบว่า แม้ Search Engine จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลท่านนี้มากมาย แต่กลับไม่มีแหล่งข้อมูลใดที่รวบรวมและนำเสนอประวัติของท่านได้ละเอียดน่าพอใจ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ก็พอจะได้เรื่องราวเกี่ยวกับ "นฤชา เพ่งผล " พอที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ดังต่อไปนี้ครับ
ข้อมูลส่วนตัวใน Facebook ระบุว่า อ.นฤชา เพ่งผล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ( ไม่ระบุปีเกิด คาดว่าคงเพื่อประโยชน์ในการพรางอายุ อิอิ)
อ.นฤชา เพ่งผล เป็นนักจัดรายการเพลงสากลทางสถานีวิทยุทหารอากาศสะพานแดง บางซื่อ คลื่นความถี่ AM 964 กิโลเฮิร์ต ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 14.00 - 15.00 น. และรายการ "จิ๊กโก๋ยามดึก " ทางสถานีวิทยุทหารอากาศ 01 ดอนเมือง เวลา 22.00 - 23.00 น. ในยุคที่กระแสเพลงสากลกำลังแรง ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในนักจัดรายการท็อปฮิตของยุคสมัยนั้น โดยมีนักจัดรายการร่วมสมัยกับท่าน เช่น อภิพันธ์ วงศ์ยฤทธิ์ ,วิฑูร วทัญญู , ณรงค์ มานแมน ,ประชา ชาตินุกูล เป็นต้น
นอกจากบทบาทการเป็นนักจัดรายการวิทยุแล้ว อ.นฤชา เพ่งผล ยังมีผลงานด้านการบันเทิงอื่นๆอีก เช่น
บทบาทการเป็นโปรดิวเซอร์และเจ้าของค่ายเพลง "นฤชา โปรโมชั่น ( NP Promotion)" ซึ่งผลิตศิลปินคุณภาพออกมาไม่น้อย เช่น วง เดอะเซ้นท์ ( The Saint) , วง พีเอ็มไฟว์ ( PM - 5 ) ของดอน สอนระเบียบ , วงดิโอเวชั่น ที่มีนักร้องหญิงคือ พัชรา แวงวรรณ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้
ต่อมาภายหลัง นฤชา โปรโมชั่น ได้ควบรวมกิจการกับ Original Sound หรือ ไทยรัชฎา ของ วิเชียร อัศว์ศิวะกุล เป็นบริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น ก่อนจะเปลี่ยนเป็น นิธิทัศน์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบันลด Profile ของบริษัทเหลือแค่นำผลงานเก่าของศิลปินของบริษัทมาจำหน่ายใหม่ ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ) ซึ่งคุณก็คงเคยเห็นผลงานของศิลปินเหล่านั้นตามแผงซีดีทั่วไป
บทบาทการเป็นผู้กำกับภาพยนต์ อ.นฤชา มีผลงานกำกับภาพยนต์ 2 เรื่องคือ
1.เรื่อง ผีเอ๊าะๆ ( เข้าฉาย 15 ธันวาคม 2527) นำแสดงโดย อลิษา มิลเลอร์ ,ล้อต๊อก , โน้ต เชิญยิ้ม ,ยอด นครนายก ,อัญชลี ไชยศิริ และ พอเจตน์ แก่นเพชร
2เรื่อง จอมเมฆินทร์ ( เข้าฉาย 9 กุมภาพันธ์ 2528 ) นำแสดงโดย ฤทธิ์ ลือชา ,ชูชัย ชัชดา ,นฤมล ผลประเสริฐ , พิมพ์ใจ พรหมมาลี และ ภาวนา วชิรานนท์
นอกจาก อาถรรพ์เสือสมิงแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆที่ อ.นฤชา เคยร่วมแสดงด้วย เช่น สะหมิหรา สวรรค์ปิด แม่นาคพระโขนง สัญญาใจ ( คำบอกเล่าใน facebook )
ปัจจุบัน ก็อย่างที่เล่าไว้แล้วว่า อ.นฤชา ยังรักษาบทบาทนักจัดรายการวิทยุ โดยมาสถานีวิทยุของตัวเอง คือ สถานีวิทยุชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต และยังมีบทบาทเป็น "นักบุญ" ตามชื่อชมรมของท่านด้วย
เหตุผลที่ผมนำเรื่องราวของท่านมาถ่ายทอดในบล็อก "ไอดอลแมน" นี้ ก็ด้วยเห็นว่า ท่านถือเป็นบุคคลต้นแบบคนหนึ่งในสังคมไทยเรา เพราะนอกเหนือจากบทบาทการทำงานด้านบันเทิง หรือกิจกรรมเพื่อการกุศลแล้ว ความประทับใจอย่างหนึ่งที่ผมสัมผัสได้จากความเป็น อ.นฤชา เพ่งผล คือ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่วางตัวได้เหมาะสม ถ้าใช้สำนวนแบบนักประพันธ์หน่อยก็ต้องบอกว่า เปรียบประดุจต้นไม้ใหญ่ที่มีรากฐานมั่นคง และแผ่กิ่งก้านสาขาปกป้องให้ความร่มเย็นแก่ต้นหญ้าและต้นไม้เล็กๆที่อยู่ใต้ร่มเงาได้ โดยที่ยอดไม้ใหญ่นั้นก็ไม่ได้อยู่สูงลิ่วเสียจนกลายเป็นความห่างเหินกับยอดหญ้า นั่นแหล่ะคือบุคลิกของ อ.นฤชา เพ่งผล
ทิ้งท้ายสำหรับคุณผู้อ่านที่เคยเป็นแฟนเก่า เอ๊ย!แฟนคลับ นฤชา เพ่งผล "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" แล้วคิดถึงท่าน หรือคุณที่สนใจอยากจะทำความรู้จักกับจิ๊กโก๋ใจดีท่านนี้ เข้าไปเยี่ยมชมได้ที่
Facebook นฤชา จิ๊กโก๋ยามบ่าย
Fanpage จิ๊กโก๋เรดิโอ
เว็บไซต์ ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต ( ฟังวิทยุออนไลน์)
ทว่าในยุคนั้น ช่องทางการฟังเพลงไม่ได้มีหลากหลายเท่าไหร่ ถ้าไม่ซื้อเทปคลาสเซทหรือแผ่นเสียงมาฟังเอง ส่วนใหญ่ก็จะฟังตามสถานีวิทยุ ซึ่งมีรายการเพลงสากลที่มีนักจัดรายการ ( ดีเจ ) ชื่อดังอยู่หลายคน
( ภาพจาก facebook นฤชา จิ๊กโก๋ยามบ่าย)
หนึ่งในนั้นคือ นฤชา เพ่งผล ผู้จัดรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย " ออกอากาศทางสถานีวิทยุทหารอากาศสะพานแดง บางซื่อ คลื่นความถี่ AM 964 กิโลเฮิร์ต ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 14.00 - 15.00 น. และรายการ "จิ๊กโก๋ยามดึก " ทางสถานีวิทยุทหารอากาศ 01 ดอนเมือง เวลา 22.00 - 23.00 น.
ซึ่งวัยรุ่นสมัยนั้นติดกันงอมแงม ชนิดที่ว่ากันว่า ใครไม่รู้จักหรือไม่เคยฟัง "จิ๊กโก๋ยามบ่าย " ถือว่าเชยสะบัด
ปัจจุบัน นักจัดรายการที่ชื่อ นฤชา เพ่งผล เป็นเจ้าของสถานีวิทยุ คลื่นความถี่ FM 91.25 MHz ที่ตั้งสำนักงาน ณ บ้านเลขที่ 111/156 ซอย 69/2 สะพานใหม่ ( ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเซ็นทรัล เยนเนอรัล) เขตบางเขน กทม.ซึ่งสถานที่ดังกล่าว ยังเป็นสำนักงานของชมรมการกุศล ชื่อ "ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต" ที่นักจัดรายการอาวุโสท่านนี้ก่อตั้งขึ้นมาด้วย
ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต ซึ่งมีสโลแกนประจำชมรมว่า "เราจะก้าวต่อไป....ด้วยหัวใจของนักบุญ " ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการกุศลต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอุปถัมภ์โรงเรียนยากจน ( เช่น โรงเรียนบ้านหนองแขม จ.สุพรรณบุรี ) การรับบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการกุศล เป็นต้นว่า บูรณะซ่อมแซม ก่อสร้างพุทธสถาน ตามวัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะการร่วมบุญกับวัดสายไหม ซึ่งมีเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์อ๊อด ผู้โด่งดังจากการสร้างตระกรุดลูกปืนอันลือลั่น ซึ่งเป็นพระน้องชายของอาจารย์นฤชาเอง ดังนี้เป็นต้น
และจะด้วยโชคชะตาฟ้าลิขิตหรืออะไรก็ไม่แล้วแต่ ทำให้ผมได้มีโอกาสรู้จักและเคยร่วมกิจกรรมกับชมรมดังกล่าวอยู่บ้าง ด้วยเหตุที่เพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ของผมคนหนึ่ง ซึ่งคงจะเป็นแฟนรายการของอาจารย์นฤชามาแต่ดั้งเดิมได้ชักชวนไป เพราะลำพังผม ( ผู้เขียน ) เองยอมรับตรงๆเลยว่า เพิ่งเคยได้ยินชื่อของนักจัดรายการท่านนี้และชมรมนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ( เนื่องจากช่วงที่ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" กำลังโด่งดังนั้น ผมก็คงกำลังนั่งเล่นเป่ากบ ดีดลูกแก้ว หรือไล่จับแมงช้าง ตัวด้วงไปเรื่อยเปื่อยอยู่ในโรงเรียนประถมที่ต่างจังหวัดอยู่เลย อิอิ ) แต่เมื่อได้ทราบว่าเป็นกิจกรรมเพื่อการกุศล ผมก็เลยไม่ลังเลที่จะหาโอกาสไปร่วมกิจกรรมของทางชมรมตามคำชวนของรุ่นพี่
ตัวอย่างกิจกรรมที่เคยไปร่วม ผมบันทึกไว้ในอีกบล็อกหนึ่งของผม คือ บล็อก Antiblanklife ในบทความเรื่อง ผมไปทำบุญกับ"จิ๊กโก๋ฯ"มาครับ.... และ บุกบ้านจิ๊กโก๋ในวันตรุษจีน
ย้อนกล่าวถึงที่ผมเล่าว่า เพิ่งมารู้จักชื่อ "นฤชา เพ่งผล" เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ช่วงนั้นได้รับคำบอกเล่า ( ทั้งจากรุ่นพี่ รวมถึงเสียงจากแฟนคลับรุ่นเก๋าของท่านในอินเตอร์เน็ตบางเว็บบอร์ดที่ผมเคยอ่านเจอ ) ถึงความโด่งดังในอดีตของนักจัดรายการท่านนี้ ด้วยความที่เกรงว่าจะคุยกับบรรดา "จิ๊กโก๋" ทั้งหลายไม่รู้เรื่อง ( ฮ่า!) ผมเลยลองค้นหาข้อมูลประวัติของเจ้าของรายการ "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" ท่านนี้ดู
แหล่งที่ค้นหาสะดวกสุดก็คงหนีไม่พ้นแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แต่แล้วผมก็อดรู้สึกขัดใจนิดๆไม่ได้ เมื่อพบว่า แม้ Search Engine จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลท่านนี้มากมาย แต่กลับไม่มีแหล่งข้อมูลใดที่รวบรวมและนำเสนอประวัติของท่านได้ละเอียดน่าพอใจ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรวบรวมข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ก็พอจะได้เรื่องราวเกี่ยวกับ "นฤชา เพ่งผล " พอที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ดังต่อไปนี้ครับ
ข้อมูลส่วนตัวใน Facebook ระบุว่า อ.นฤชา เพ่งผล เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ( ไม่ระบุปีเกิด คาดว่าคงเพื่อประโยชน์ในการพรางอายุ อิอิ)
อ.นฤชา เพ่งผล เป็นนักจัดรายการเพลงสากลทางสถานีวิทยุทหารอากาศสะพานแดง บางซื่อ คลื่นความถี่ AM 964 กิโลเฮิร์ต ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 14.00 - 15.00 น. และรายการ "จิ๊กโก๋ยามดึก " ทางสถานีวิทยุทหารอากาศ 01 ดอนเมือง เวลา 22.00 - 23.00 น. ในยุคที่กระแสเพลงสากลกำลังแรง ทำให้ท่านเป็นหนึ่งในนักจัดรายการท็อปฮิตของยุคสมัยนั้น โดยมีนักจัดรายการร่วมสมัยกับท่าน เช่น อภิพันธ์ วงศ์ยฤทธิ์ ,วิฑูร วทัญญู , ณรงค์ มานแมน ,ประชา ชาตินุกูล เป็นต้น
นอกจากบทบาทการเป็นนักจัดรายการวิทยุแล้ว อ.นฤชา เพ่งผล ยังมีผลงานด้านการบันเทิงอื่นๆอีก เช่น
บทบาทการเป็นโปรดิวเซอร์และเจ้าของค่ายเพลง "นฤชา โปรโมชั่น ( NP Promotion)" ซึ่งผลิตศิลปินคุณภาพออกมาไม่น้อย เช่น วง เดอะเซ้นท์ ( The Saint) , วง พีเอ็มไฟว์ ( PM - 5 ) ของดอน สอนระเบียบ , วงดิโอเวชั่น ที่มีนักร้องหญิงคือ พัชรา แวงวรรณ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้
ต่อมาภายหลัง นฤชา โปรโมชั่น ได้ควบรวมกิจการกับ Original Sound หรือ ไทยรัชฎา ของ วิเชียร อัศว์ศิวะกุล เป็นบริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น ก่อนจะเปลี่ยนเป็น นิธิทัศน์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบันลด Profile ของบริษัทเหลือแค่นำผลงานเก่าของศิลปินของบริษัทมาจำหน่ายใหม่ ( ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ) ซึ่งคุณก็คงเคยเห็นผลงานของศิลปินเหล่านั้นตามแผงซีดีทั่วไป
บทบาทการเป็นผู้กำกับภาพยนต์ อ.นฤชา มีผลงานกำกับภาพยนต์ 2 เรื่องคือ
1.เรื่อง ผีเอ๊าะๆ ( เข้าฉาย 15 ธันวาคม 2527) นำแสดงโดย อลิษา มิลเลอร์ ,ล้อต๊อก , โน้ต เชิญยิ้ม ,ยอด นครนายก ,อัญชลี ไชยศิริ และ พอเจตน์ แก่นเพชร
2เรื่อง จอมเมฆินทร์ ( เข้าฉาย 9 กุมภาพันธ์ 2528 ) นำแสดงโดย ฤทธิ์ ลือชา ,ชูชัย ชัชดา ,นฤมล ผลประเสริฐ , พิมพ์ใจ พรหมมาลี และ ภาวนา วชิรานนท์
พ.ศ.2533 ) โดยร่วมแสดงกับ พันนา ฤทธิไกร ,แพรว มาศมารุต และ วันดี ศิรินคร
นอกจาก อาถรรพ์เสือสมิงแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆที่ อ.นฤชา เคยร่วมแสดงด้วย เช่น สะหมิหรา สวรรค์ปิด แม่นาคพระโขนง สัญญาใจ ( คำบอกเล่าใน facebook )
( ภาพจาก facebook นฤชา จิ๊กโก๋ยามบ่าย)
ปัจจุบัน ก็อย่างที่เล่าไว้แล้วว่า อ.นฤชา ยังรักษาบทบาทนักจัดรายการวิทยุ โดยมาสถานีวิทยุของตัวเอง คือ สถานีวิทยุชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต และยังมีบทบาทเป็น "นักบุญ" ตามชื่อชมรมของท่านด้วย
เหตุผลที่ผมนำเรื่องราวของท่านมาถ่ายทอดในบล็อก "ไอดอลแมน" นี้ ก็ด้วยเห็นว่า ท่านถือเป็นบุคคลต้นแบบคนหนึ่งในสังคมไทยเรา เพราะนอกเหนือจากบทบาทการทำงานด้านบันเทิง หรือกิจกรรมเพื่อการกุศลแล้ว ความประทับใจอย่างหนึ่งที่ผมสัมผัสได้จากความเป็น อ.นฤชา เพ่งผล คือ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่วางตัวได้เหมาะสม ถ้าใช้สำนวนแบบนักประพันธ์หน่อยก็ต้องบอกว่า เปรียบประดุจต้นไม้ใหญ่ที่มีรากฐานมั่นคง และแผ่กิ่งก้านสาขาปกป้องให้ความร่มเย็นแก่ต้นหญ้าและต้นไม้เล็กๆที่อยู่ใต้ร่มเงาได้ โดยที่ยอดไม้ใหญ่นั้นก็ไม่ได้อยู่สูงลิ่วเสียจนกลายเป็นความห่างเหินกับยอดหญ้า นั่นแหล่ะคือบุคลิกของ อ.นฤชา เพ่งผล
ทิ้งท้ายสำหรับคุณผู้อ่านที่เคยเป็นแฟนเก่า เอ๊ย!แฟนคลับ นฤชา เพ่งผล "จิ๊กโก๋ยามบ่าย" แล้วคิดถึงท่าน หรือคุณที่สนใจอยากจะทำความรู้จักกับจิ๊กโก๋ใจดีท่านนี้ เข้าไปเยี่ยมชมได้ที่
Facebook นฤชา จิ๊กโก๋ยามบ่าย
Fanpage จิ๊กโก๋เรดิโอ
เว็บไซต์ ชมรมนักบุญคนสู้ชีวิต ( ฟังวิทยุออนไลน์)
19 เมษายน 2556
100 อันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก ปี 2013 โดยนิตยสารไทม์
วันนี้ บล็อก "ไอดอลแมน" ขอเกาะติด ตามกระแสข่าวความเป็นไปของโลกนิดนึง ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของ 100 อันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก ปี 2013 ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสารไทม์ ( Time Magazine )
เหมือนๆกับทุกปี ที่นิตยสารไทม์จะจัดอันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกจำนวน 100 คน โดยคัดเลือกจากรายชื่อที่บรรณาธิการของนิตยสารไทม์ในที่ต่างๆ ทั่วโลกส่งเข้าสู่สำนักงานใหญ่
บุคคลผู้ทรงอิทธิพลจำนวน 100 คนนี้ จะคัดสรรจากทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์หรือนักค้นคว้าด้านเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นในสาขาอาชีพของตน โดยบุคคลดังกล่าวอาจเป็นผู้ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ หรือก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นที่ชื่นชอบของปวงชน รวมทั้งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องเคารพนับถือมากที่สุด
ในปี 2013 นี้ ก็ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับออกมาแล้ว โดยแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ
-ผู้ที่ทรงพลังขับเคลื่อนอันมหาศาล ( Titans)
- ผู้นำประเทศ (Leaders)
- ศิลปิน (Artists)
-ผู้บุกเบิก (Pioneers) และ
-ผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ในด้านต่างๆ (Icons)
โดยใน 100 คนนี้ ก็จะมีทั้งนักการเมืองคนสำคัญเช่น ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ, ประธานาธิบดีเบนิญโญ อาคิโน ของฟิลิปปินส์, นางปัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีหญิงจากเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จากจีน นายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่รวมถึงองค์สมเด็จสันตะปาปาฟรานซิส ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง
นอกจากนี้ก็มี ศิลปินชื่อดัง เช่น เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์, คริสตินา อากีเลอรา, สตีเวน สปีลเบิร์ก
กลุ่ม "ผู้ที่พลังขับเคลื่อนอันมหาศาล(Titans) "นั้น ประกอบด้วยบุคคลสำคัญในหลากหลายวงการ อาทิ เจย์ ซี ศิลปินผิวีชาวอเมริกัน, เชอรีล แซนด์เบิร์ก ประธานฝ่ายปฏิบัติการของเฟซบุ๊ก, นายทาดาชิ ยานาอิ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้า"ยูนิโคล," เอลอน มัสค์ ซีอีโอ ของบริษัทรถยนต์เทลซ่า มอเตอร์ส, จีนา ไรน์เฮิร์ท นักธุรกิจเหมืองแร่ สตรีที่มั่งคั่งที่สุดในออสเตรเลีย และนายเควิน ไซสตรอม ผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชันแบ่งปันภาพ "อินสตาแกรม"
แต่ที่โดดเด่นที่สุด เห็นจะเป็น บุคคลในกลุ่มผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ในด้านต่างๆ (Icons) ซึ่งมีบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในขณะนี้ก็คือ มาลาลา ยูซุฟไซ วัยรุ่นสาวชาวปากีสถาน ผู้ไม่หวั่นอิทธิพลของตอลิบานที่ห้ามสตรีเรียนหนังสือจนกระทั่งถูกนักรบตอลิบานทำร้าย
แล้วยังมีบุคคลสำคัญ อาทิ นางออง ซานซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่า, จัสติน ทิมเบอร์เลค, บียอนเซ่, แดเนียล เดย์-ลูอิส, เจ้าหญิงเคท, หลี่ นา นักเทนนิสชาวจีน และนางมิเชล โอบามา
ซึ่งจาก 100 คนที่ได้รับการจัดอันดับนี้ มีอยู่ 7 คน ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำรูปขึ้นปกนิตยสาร Time ฉบับประจำวันที่ 29 เม.ย.2013 Vol.181 No.16 ประกอบด้วย
1.Jay Z ศิลปินผิวสีชื่อดัง
2.Li Na นักเทนนิสมืออาชีพจากประเทศจีน
3.Malalah Yusafzay เด็กสาวขาวปากีสถานที่เรียกร้องสิทธิเพื่อสตรีและสันติภาพจากสงครา
4.Rand Paul วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา
5.Jannifer Lawrence นักแสดงสาวดาวรุ่ง
6.Aamir Khan นักแสดง ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ชื่อดังชาวอินเดีย
7.Elon Musk นักธุรกิจชื่อดังในอเมริกา
เหมือนๆกับทุกปี ที่นิตยสารไทม์จะจัดอันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกจำนวน 100 คน โดยคัดเลือกจากรายชื่อที่บรรณาธิการของนิตยสารไทม์ในที่ต่างๆ ทั่วโลกส่งเข้าสู่สำนักงานใหญ่
บุคคลผู้ทรงอิทธิพลจำนวน 100 คนนี้ จะคัดสรรจากทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์หรือนักค้นคว้าด้านเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นในสาขาอาชีพของตน โดยบุคคลดังกล่าวอาจเป็นผู้ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ หรือก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือเป็นที่ชื่นชอบของปวงชน รวมทั้งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องเคารพนับถือมากที่สุด
ในปี 2013 นี้ ก็ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับออกมาแล้ว โดยแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ
-ผู้ที่ทรงพลังขับเคลื่อนอันมหาศาล ( Titans)
- ผู้นำประเทศ (Leaders)
- ศิลปิน (Artists)
-ผู้บุกเบิก (Pioneers) และ
-ผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ในด้านต่างๆ (Icons)
โดยใน 100 คนนี้ ก็จะมีทั้งนักการเมืองคนสำคัญเช่น ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ, ประธานาธิบดีเบนิญโญ อาคิโน ของฟิลิปปินส์, นางปัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีหญิงจากเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จากจีน นายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่รวมถึงองค์สมเด็จสันตะปาปาฟรานซิส ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง
นอกจากนี้ก็มี ศิลปินชื่อดัง เช่น เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์, คริสตินา อากีเลอรา, สตีเวน สปีลเบิร์ก
กลุ่ม "ผู้ที่พลังขับเคลื่อนอันมหาศาล(Titans) "นั้น ประกอบด้วยบุคคลสำคัญในหลากหลายวงการ อาทิ เจย์ ซี ศิลปินผิวีชาวอเมริกัน, เชอรีล แซนด์เบิร์ก ประธานฝ่ายปฏิบัติการของเฟซบุ๊ก, นายทาดาชิ ยานาอิ ผู้ก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้า"ยูนิโคล," เอลอน มัสค์ ซีอีโอ ของบริษัทรถยนต์เทลซ่า มอเตอร์ส, จีนา ไรน์เฮิร์ท นักธุรกิจเหมืองแร่ สตรีที่มั่งคั่งที่สุดในออสเตรเลีย และนายเควิน ไซสตรอม ผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชันแบ่งปันภาพ "อินสตาแกรม"
แต่ที่โดดเด่นที่สุด เห็นจะเป็น บุคคลในกลุ่มผู้ที่เป็นสัญลักษณ์ในด้านต่างๆ (Icons) ซึ่งมีบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในขณะนี้ก็คือ มาลาลา ยูซุฟไซ วัยรุ่นสาวชาวปากีสถาน ผู้ไม่หวั่นอิทธิพลของตอลิบานที่ห้ามสตรีเรียนหนังสือจนกระทั่งถูกนักรบตอลิบานทำร้าย
แล้วยังมีบุคคลสำคัญ อาทิ นางออง ซานซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่า, จัสติน ทิมเบอร์เลค, บียอนเซ่, แดเนียล เดย์-ลูอิส, เจ้าหญิงเคท, หลี่ นา นักเทนนิสชาวจีน และนางมิเชล โอบามา
ซึ่งจาก 100 คนที่ได้รับการจัดอันดับนี้ มีอยู่ 7 คน ที่ได้รับการคัดเลือกให้นำรูปขึ้นปกนิตยสาร Time ฉบับประจำวันที่ 29 เม.ย.2013 Vol.181 No.16 ประกอบด้วย
1.Jay Z ศิลปินผิวสีชื่อดัง
2.Li Na นักเทนนิสมืออาชีพจากประเทศจีน
3.Malalah Yusafzay เด็กสาวขาวปากีสถานที่เรียกร้องสิทธิเพื่อสตรีและสันติภาพจากสงครา
4.Rand Paul วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกา
5.Jannifer Lawrence นักแสดงสาวดาวรุ่ง
6.Aamir Khan นักแสดง ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ชื่อดังชาวอินเดีย
7.Elon Musk นักธุรกิจชื่อดังในอเมริกา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)